เมนู

อรรถกถาผาสุวิหารสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในผาสุวิหารสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เมตฺตํ กายกมฺมํ ได้แก่ กายกรรมที่ให้เป็นไปด้วยจิต
ประกอบด้วยเมตตา. บทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง. แม้ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า ยานิ ตานิ สีลานิ เป็นต้น ตรัสด้วยจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า
สมาธิสํวตฺตนิกานิ ได้แก่ อันทำให้มรรคสมาธิและผลสมาธิบังเกิด. บทว่า
สีลสามญฺญคโต แปลว่า ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน อธิบายว่า เป็นผู้มี
ศีลเช่นเดียวกัน. บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้กระทำตามความเห็นนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความมีศีลเสมอกัน ตรัสทิฏฐิวิปัสสนาและสัมมาทิฏฐิ
ในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาผาสุวิหารสูตรที่ 5

6. อานันทสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ผาสุก


[106] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้
เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์
พึงอยู่เป็นผาสุก.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง
อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.
พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล และเป็นผู้ใส่ใจตนเอง
ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง
อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.
พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง
ไม่ใส่ใจผู้อื่น และเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น
แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึงอยู่
เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.
พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง
ไม่ใส่ใจผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น
แต่เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อัน
มีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึง
อยู่เป็นผาสุก.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง
อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.
พ. พึงมี อานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพระอธิศีล ฯ ล ฯ เป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็น
เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.
ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกล่าวได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุก
อย่างอื่น ที่ดีกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกเช่นนี้ ย่อมไม่มี.
จบอานันทสูตรที่ 6

อรรถกถาอานันทสูตร


พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โน จ ปรํ อธิสีเล สมฺปวตฺตา โหติ ความว่าไม่ติ-
เตียน ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ถึงเรื่องศีล. บทว่า อตฺตานุเปกฺขี ได้แก่ คอยเพ่ง
ดูตน โดยรู้กิจที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำ. บทว่า โน ปรานุเปกฺขี ได้แก่
ไม่มัวสนใจในกิจที่ผู้อื่นทำและยังไม่ได้ทำ. บทว่า อปฺปญฺญาโต ได้แก่
ไม่ปรากฏ (ไม่มีชื่อเสียง) คือมีบุญน้อย. บทว่า อปฺปญฺญาตเกน ได้แก่
เพราะความเป็นผู้ไม่ปรากฏคือไม่มีชื่อเสียง มีบุญน้อย. บทว่า โน ปริตสฺสติ
ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้ง. ด้วยสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระ
ขีณาสพเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ 6