เมนู

สกุล (บ้านญาติโยม) ในชนบทนั้น ย่อมได้ลาภ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุ
เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล
ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึงติเตียน
และประสบบาปเป็นอันมาก.
จบโจรสูตรที่ 3

อรรถกถาโจรสูตร


พึงทราบวินิจฉัยโจรสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิโต โภเคน ปฏิสนฺถริสฺสามิ ความว่า เราจักถือเอา
โภคะจากสมบัติของเรานี้ ทำปฏิสันถารปกปิดด้วยโภคะนั้น อธิบายว่า จักปิด
ช่องระหว่างเขาและเรา. บทว่า นิคฺคหณานิ ได้แก่ การถือเอาของของผู้อื่น.
บทว่า คุยฺหมนฺตา ได้แก่ มนต์ที่ต้องปกปิด. บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย
ความว่า ยึดถือสัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโจรสูตรที่ 3

4. สุขุมาลสูตร


ว่าด้วยธรรมของสมณะผู้ละเอียดอ่อน


[104] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้
ย่อมชื่อว่าเป็นสมณะละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ

1.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้
จีวรน้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาตมาก ไม่ถูกขอร้องบริโภคบิณฑบาต
น้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูกขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้อง
จึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูกขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย.
2. อนึ่ง เธอย่อมอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อน
พรหมจรรย์เหล่านั้น ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมอันเป็นที่พอใจเป็น
ส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรม
อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติ
ต่อเธอด้วยมโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วน
น้อย ย่อมนำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจ
เป็นส่วนน้อย.
3. อนึ่ง เวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มี
ลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี
ที่เกิดเพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี ที่เกิดเพราะผล-
กรรมก็ดี ย่อมไม่บังเกิดแก่เธอมาก เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย.
4. เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน.
5. เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ชื่อว่าเป็น
สมณะละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าว

กะเรานั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เพราะว่า เราถูก
ขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้จีวรน้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาต
มาก ไม่ถูกขอร้องบริโภคบิณฑบาตน้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูก
ขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้องจึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูก
ขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย และเราย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด
ภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก
อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรมอันเป็นที่
พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วย
มโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อม
นำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วน
น้อย และเวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็น
สมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี ที่เกิด
เพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี ที่เกิดเพราะผลกรรมก็ดี
ย่อมไม่บังเกิดแก่เรามาก เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย เราเป็นผู้ได้ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง
อยู่สบายในปัจจุบัน ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าว
เรานั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ.
จบสุขุมาลสูตรที่ 4
สุขุมาลสูตรที่ 4 ทุกบทมีนัยกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

5. ผาสุวิหารสูตร


ว่าด้วยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการ


[105] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 1 เข้าไปตั้งวจีกรรม
ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 1 เข้าไปตั้ง
มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 1
มีศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ
อันตัณหาและทิฏฐิไม่เกี่ยวเกาะ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 1 ทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำออก
เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ แห่งผู้กระทำ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการนี้แล.
จบผาสุวิหารสูตรที่ 5