เมนู

อรรถกถากกุธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกกุธสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตภาวปฏิลาโภ คือ ได้ร่างกาย. ในบทว่า เทฺว วา
ตีณิ วา มาคธิกานิ คามกฺเขตฺตานิ
นี้ เขตหมู่บ้านชาวมคธมีขนาดเล็ก
ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เขตหมู่บ้านขนาดเล็ก แต่นี้ไป 40 อสุภะ จากโน้นมา
40 อุสภะ รวมเป็นหนึ่งคาวุต ขนาดกลาง แต่นี้ไปหนึ่งคาวุต จากโน้นมา
หนึ่งคาวุต รวมเป็นกึ่งโยชน์ ขนาดใหญ่ แต่นี้ไปคาวุตครึ่ง จากโน้นมา
คาวุตครึ่ง รวมเป็นสามคาวุต. ในเขตหมู่บ้านเหล่านั้น เขตหมู่บ้านขนาดเล็ก
ก็ 3 เขต เขตหมู่บ้านขนาดกลางก็ 2 เขต เป็นขนาดอัตภาพของเทพบุตรนั้น
ดังนั้น เทพบุตรนั้นจึงมีร่างกายขนาด 3 คาวุต.
บทว่า ปริหริสฺสามิ ได้แก่ เราจักบำรุงคุ้มครอง. บทว่า รกฺขสฺเสตํ
ได้แก่ เธอจงรักษาวาจานั้น. บทว่า โมฆปุริโส ได้แก่ เป็นคนเปล่า ๆ.
บทว่า นาสฺสสฺส ได้แก่ ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน. บทว่า สมุทาจเรยฺ-
ยาม ได้แก่ พึงกล่าว. บทว่า สมฺมนฺนติ ได้แก่ ทำการยกย่อง. บทว่า
ยํ ตุโม กริสฺสติ ตุโมว เตน ปญฺญายิสฺสติ ความว่า ศาสดานี้จักทำ
กรรมใด ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากกุธสูตรที่ 10
จบกกุธวรรควรรณนาที่ 5
จบทุติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมสัมปทาสูตร 2. ทุติยสัมปทาสูตร 3. พยากรณสูตร
4. ผาสุสูตร 5. อกุปปสูตร 6. สุตสูตร 7. กถาสูตร 8. อรัญญสูตร
9. สีหสูตร 10. กกุธสูตร และอรรถกถา.

ตติยปัณณาสก์


ผาสุวิหารวรรคที่ 1


1. เวสารัชชกรณสูตร


ว่าด้วยธรรมให้แกล้วกล้า 5 ประการ


[101] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้
แกล้ากล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา 1 เป็นผู้มีศีล 1 เป็นพหูสูต 1 เป็นผู้
ปรารภความเพียร 1 เป็นผู้มีปัญญา 1
ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้
ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึง
ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึง
ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม
ใดย่อมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม
ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม
ใดย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่เป็นพหูสูต ฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้ากล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความ
ครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารภ
ความเพียร ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้า
แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้าม
นั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็น
ผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่ง
ภิกษุผู้เสขะ 5 ประการนี้แล.
จบเวสารัชชกรณสูตรที่ 1