เมนู

ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับกระบือ ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับโค
ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเสือเหลือง ย่อมจับโดยแม่นยำ
ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเหล่าสัตว์เล็ก ๆ โดยที่สุดกระต่ายและแมว ย่อมจับโดย
แม่นยำ ไม่พลาด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสีหมฤคราชนั้นคิดว่า ทาง
หากินของเราอย่าพินาศเสียเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าสีหะนั้นแล เป็น
ชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ที่ตถาคตแสดงธรรมแก้บริษัทนี้แล
เป็นสีหนาทของตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะ
แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดย
ไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ
ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมแสดงโดย
เคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ โดยที่สุดแม้แก่คนขอทานและพรานนก ย่อม
แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคต
เป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม.
จบสีหสูตรที่ 9

อรรถกถาสีหสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สกฺกจฺจญฺเญว ปหารํ เทติ โน อสกฺกจฺจํ ความว่า
ให้ไม่ผิดพลาด โดยไม่ดูแคลน คือมิใช่ให้พลาดโดยดูแคลน. บทว่า มา เม
โยคฺคปโถ นสฺส
ความว่า ฝีมือจักสัตว์ที่เราชำนาญแล้ว ของเราจงอย่าเสื่อม

เสียไป. อธิบายว่า คนทั้งหลายจงอย่ากล่าวอย่างนี้ว่า สีหมฤคราชตัวหนึ่ง
เมื่อลุกขึ้นตะปบแมว ก็ตะปบพลาดไปดังนี้. ในบทว่า อนฺนภารเนสาทานํ
นี้ ข้าวเหนียวเรียกกันว่า อนฺน (ข้าว) ข้าวเหนียวนั้นเป็นของจำเป็นสำหรับ
คนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น คนเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนฺนภารา (มีข้าวเป็น
ของจำเป็น) คำนั่นเป็นชื่อของคนขอทาน. นายพรานนก เขาเรียกว่า เนสาท
ตถาคตทรงแสดงอย่างตระหนัก แม้แก่คนขอทานหรือนายพรานนกเหล่านั้น
โดยที่สุดอันมีภายหลังคนทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสีหสูตรที่ 9

10. กกุธสูตร


ว่าด้วยศาสดา 5 จำพวก


[100] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
ใกล้เมืองโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะ ผู้อุปัฏฐากท่าน
พระมหาโมคคัลลานะ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่า อโนมยะ
หมู่หนึ่งเป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธสองสามหมู่
เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ครั้งนั้นแล กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้-
เจริญ พระเทวทัต เกิดความปรารภอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ และ
พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท ครั้นกกุธเทพบุตรได้
กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทำประทักษิณแล้วหายไป