เมนู

8. อรัญญสูตร*


ว่าด้วยธรรมทำให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว


[98] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อ
กาลไม่นานนัก ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต 1 ย่อมเป็น
ผู้มีอาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง 1 ย่อมเป็นผู้มี
ความง่วงนอนน้อย ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ 1 ย่อมเป็นผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด 1 ย่อมพิจารณาจิตตามที่
หลุดพ้นแล้ว 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
นี้แล ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ
ต่อกาลไม่นานนัก.
จบอรัญญสูตรที่ 8

9. สีหสูตร


ว่าด้วยพระพุทธเจ้าแสดงธรรมดุจสีหะจักสัตว์


[99] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชออกจากที่อยู่ในเวลาเย็น
แล้วย่อมเยื้องกราย เหลียวดูทิศทั้ง 4 โดยรอบ บันลือสีหนาท 3 ครั้ง แล้ว
ออกเที่ยวไปหากิน สีหมฤคราชนั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ย่อมจับโดยแม่นยำ
* อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่าย

ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับกระบือ ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับโค
ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเสือเหลือง ย่อมจับโดยแม่นยำ
ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเหล่าสัตว์เล็ก ๆ โดยที่สุดกระต่ายและแมว ย่อมจับโดย
แม่นยำ ไม่พลาด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสีหมฤคราชนั้นคิดว่า ทาง
หากินของเราอย่าพินาศเสียเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าสีหะนั้นแล เป็น
ชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ที่ตถาคตแสดงธรรมแก้บริษัทนี้แล
เป็นสีหนาทของตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะ
แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดย
ไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ
ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมแสดงโดย
เคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ โดยที่สุดแม้แก่คนขอทานและพรานนก ย่อม
แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคต
เป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม.
จบสีหสูตรที่ 9

อรรถกถาสีหสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สกฺกจฺจญฺเญว ปหารํ เทติ โน อสกฺกจฺจํ ความว่า
ให้ไม่ผิดพลาด โดยไม่ดูแคลน คือมิใช่ให้พลาดโดยดูแคลน. บทว่า มา เม
โยคฺคปโถ นสฺส
ความว่า ฝีมือจักสัตว์ที่เราชำนาญแล้ว ของเราจงอย่าเสื่อม