เมนู

5. ทัฏฐัพพสูตร


ว่าด้วยการที่จะพึงเห็นกำลัง 5


[15] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ กำลัง คือ ศรัทธา 1 กำลัง คือ วิริยะ 1 กำลัง คือ สติ 1
กำลัง คือ สมาธิ 1 กำลัง คือ ปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พึง
เห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่ไหน พึงเห็นในโสตาปัตติยังคะ [องค์เป็นเครื่อง
ให้บรรลุความเป็นพระโสดา] 4 พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่นี้ พึงเห็น
กำลัง คือ วิริยะในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน 4 พึงเห็นกำลัง คือ
วิริยะในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน 4 พึง-
เห็นกำลัง คือ สติในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่ไหน พึงเห็นในฌาน 4
พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่ไหน พึงเห็น
ในอริยสัจ 4 พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง
5 ประการนี้แล.
จบทัฏฐัพพสูตรที่ 5

อรรถกถาทัฏฐัพพสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทัฏฐัพพสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะตรัสโลกุตรธรรมในที่มิใช่วิสัย จึงตรัส
คำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธาพละในธรรมไหน ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า เมื่อสหายมีพระราชาเป็นที่ 5 คือบุตรเศรษฐี 4 คน พระราชา
ลงเดินถนนด้วยคิดว่า เราจักเล่นนักษัตร ในเวลาไปเรือนของบุตรเศรษฐี

คนที่หนึ่ง อีก 4 คนก็นั่งเฉย เจ้าของเรือนกล่าวว่า พวกท่านจงให้ของเคี้ยว
ของบริโภค ของหอม ดอกไม้และเครื่องประดับเป็นต้น แก่ท่านเหล่านี้ ดังนี้
แล้วตรวจตราในเรือน. ในเวลาไปเรือนของบุตรเศรษฐี คนที่ 2 คนที่ 3
คนที่ 4 อีก 4 คนก็นั่งเฉย เจ้าของเรือนกล่าวว่า พวกท่านจงให้ของเคี้ยว
ของบริโภค ของหอม ดอกไม้และเครื่องประดับแก่ท่านเหล่านี้ ดังนี้แล้ว
ตรวจตราในเรือน. ครั้นต่อมา ในเวลาไปราชมณเฑียรของพระราชาทีหลังเขา
ทั้งหมด พระราชาแม้จะทรงเป็นใหญ่ในชนทั้งหมดก็จริง ถึงดังนั้นในเวลานี้
ยังตรัสว่า พวกท่านจงให้ของเคี้ยว ของบริโภค ของหอม ดอกไม้และเครื่อง
ประดับเป็นต้นแก่ท่านเหล่านี้ ดังนี้ แล้วทรงตรวจตราในพระราชมณเฑียรของ
พระองค์ ฉันใด เมื่อพละมีศรัทธาเป็นที่ 5 แม้เกิดขึ้นในอารมณ์เดียวกัน
ก็เหมือนเมื่อสหายเหล่านั้นลงเดินถนนพร้อมกัน สหายอีกสี่คนนั่งเฉยในเรือน
ของคนที่หนึ่ง สหายที่เป็นเจ้าของเรือนย่อมตรวจตรา ฉันใด สัทธาพละมี
ลักษณะน้อมใจเชื่อ เพราะบรรลุโสดาปัตติยังคะ จึงเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า พละ
ที่เหลือก็คล้อยตามสัทธาพละนั้น ฉันนั้น ในเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่สอง
สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือนตรวจตรา ฉันใด วิริยพละมีลักษณะ
ประคองไว้ เพราะถึงสัมมัปปธาน พละที่เหลือก็คล้อยตามวิริยพละนั้น ฉันนั้น
ในเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่สาม สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือน
ตรวจตรา ฉันใด สติพละมีลักษณะเขาไปตั้งไว้ เพราะถึงสติปัฏฐานจึงเป็นใหญ่
เป็นหัวหน้า พละที่เหลือก็คล้อยตามสติพละนั้น ฉันนั้น ในเรือนของบุตร-
เศรษฐีคนที่สี่ สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือนย่อมตรวจตรา ฉันใด
สมาธิพละมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน เพราะถึงฌานวิโมกข์ พละที่เหลือก็คล้อยตาม
สมาธิพละนั้น ฉันนั้น. แต่ในเวลาไปพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลัง
เขาทั้งหมด สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย พระราชาพระองค์เดียวทรงตรวจตราใน

พระราชมณเฑียร ฉันใด ปัญญาพละมีลักษณะรู้ทั่ว เพราะบรรลุอริยสัจสี่
จึงเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า พละที่เหลือก็คล้อยตามปัญญาพละนั้น ฉันนั้น
ท่านกล่าวพละ 5 ในสูตรนี้เจือกันอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ 5

6. ปุนกูฏสูตร


ว่าด้วยกำลังที่เป็นยอด


[16] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ กำลัง คือ ศรัทธา 1 กำลัง คือ วิริยะ 1 กำลัง คือ สติ 1
กำลัง คือ สมาธิ 1 กำลัง คือ ปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง
5 ประการนี้แล บรรดากำลัง 5 ประการนี้แล กำลัง คือ ปัญญา เป็นเลิศ
เป็นยอด เป็นที่รวบรวม เหมือนสิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม
แห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลัง 5 ประการนี้ กำลัง คือ
ปัญฺญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบปุนกูฏสูตรที่ 6

อรรถกถาปุนกูฏสูตร


ปุนกูฏสูตรที่ 6 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ตรัสเสกขพละเท่านั้น
8 สูตร ทั้งในวรรคก่อนและในวรรคนี้. แต่พระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในกรัณฑ-
ตรัสอเสกขพละใน 4 สูตรเป็นเบื้องสูง.
จบอรรถกถาปุนกูฏสูตรที่ 6