เมนู

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่
ยาก โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรม
เครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา
วิริยารัมภกถา สีลกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ไม่ละ
การหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นธรรมข้อที่ 5 เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
จบทุติยเสขสูตรที่ 10
จบเถรวรรคที่ 4

อรรถกถาทุติยเสขสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเสขสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิยตฺโต ได้แก่ ผู้สามารถคือฉลาด. บทว่า กึกรณีเยสุ ได้แก่
ในกิจที่ควรทำอย่างนี้. บทว่า เจโตสมถํ ได้แก่สมาธิกัมมัฏฐาน. บทว่า
อนนุโลมิเกน ได้แก่อันไม่สมควรแก่ศาสนา. บทว่า อติกาเลน ได้แก่
เช้าเกินไป. บทว่า อติทิวา ได้แก่ เลยเวลาเที่ยงที่เรียกว่ากลางวันไปแล้ว.
บทว่า อภิสลฺเลขิกา ได้แก่ เป็นข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสเหลือเกิน.
บทว่า เจโตวิววรณสปฺปายา ได้แก่ เป็นสัปปายะแก่สมถะและวิปัสสนากล่าว
คือธรรมเครื่องเปิดใจ. บทว่า อปฺปิจฺฉกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลายเป็นผู้มักน้อย. บทว่า สนฺตุฏฺฐิกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า
ท่านทั้งหลายเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย 4. บทว่า ปวิเวกกถา ได้แก่ ถ้อยคำ

ที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้สงัดด้วยวิเวก 3. บทว่า อสํสคฺคกถา ได้แก่
ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยความคลุกคลี 5 อย่าง.
บทว่า วิริยารมฺภกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายปรารภความเพียร
2 อย่าง. ในบทว่า สีลกถา เป็นต้น ได้แก่ ถ้อยคำปรารภศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ 5 อย่าง กถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนะ กล่าวคือ
ปัจจเวกขณะ 19 ชื่อวิมุตติญาณทัสสนกถา. ในบทเป็นต้นว่า น นิกาม-
ลาภี
ความว่า ไม่ได้ตามที่ตนปรารถนา ได้โดยลำดับ ได้ไม่ไพบูลย์.
บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ 10
จบเถรวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. รัชนียสูตร 2. วีตราคสูตร 3. กุหกสูตร 4. อสัทธสูตร
5. อักขมสูตร 6. ปฏิสัมภิทาสูตร 7. สีลสูตร 8. เถรสูตร 9. ปฐมเสข-
สูตร 10. ทุติยเสขสูตร และอรรถกถา.