เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระไม่เป็นผู้พูดหลอกลวง 1 ไม่เป็น
ผู้พูดหวังลาภ 1 ไม่เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ 1 ไม่เป็นผู้พูดคาดคั้นให้
บริจาค 1 ไม่เป็นผู้แสวงหาลาภ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และ
เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.
จบกุหกสูตรที่ 3

อรรถกถากุหกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกุหกสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า กุหโก ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยกุหกวัตถุ (เรื่องหลอกลวง)
บทว่า ลปโก ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยคำป้อยที่อิงลาภ. บทว่า เนมิตฺติโก
ได้แก่ เป็นผู้ทำท่าทีแห่งนิมิต [บอกใบ้]. บทว่า นิปฺเปสิโก ได้แก่ เป็น
ผู้ประกอบด้วยการพูดบีบบังคับ. บทว่า ลาเภน ลาภํ นิชิคึสิตา ได้แก่
เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ. สุกกปักข์ (ธรรมฝ่ายดี) พึงทราบโดยความสดับ
กันกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถากุหกสูตรที่ 3

4. อสัทธสูตร*


ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ


[84] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือภิกษุผู้เถระเป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1
เป็นผู้ไม่มีหิริ 1 เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ 1 เป็นผู้เกียจคร้าน 1 เป็นผู้มี
ปัญญาทราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
นี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่อง
ของเพื่อนพรหมจรรย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศรัทธา 1 เป็นผู้มีหิริ 1
เป็นผู้มีโอตตัปปะ 1 เป็นผู้ปรารภความเพียร 1 เป็นผู้มีปัญญา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.
จบอสัทธสูตรที่ 4
* สูตรที่ 4 อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น.