เมนู

อรรถกถาจตุตถอนาคตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถอนาคตสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กลฺยาณกามา แปลว่า ผู้มีความต้องการอันดี. บทว่า
รสคฺคานิ ได้แก่ รสยอดเยี่ยม. บทว่า สํสฏฺฐา วิหริสฺสนฺติ ได้แก่
จักอยู่ระคนด้วยสังสัคคะการระคน 5 อย่าง. บทว่า สนฺธิธิการปริโภคํ ได้แก่
บริโภคของที่ทำสันนิธิ [สั่งสมไว้ผิดวินัย]. ในบทว่า โอฬาริกํปิ นิมิตฺตํ
นี้ ภิกษุขุดดินเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ชื่อว่า ทำนิมิตอย่างหยาบในแผ่นดิน.
ภิกษุตัดเองก็ดี ใช้ให้เขาตัดก็ดี ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ชื่อว่า ทำนิมิตอย่าง
หยาบในของสดเขียว. ภิกษุให้เขาถือเอาใบไม้และผักเป็นต้น เก็บไว้เองก็ดี
ใช้ให้เขาเก็บไว้ก็ดี ซึ่งผลไม้เพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่จำต้องกล่าวกันละ. ในพระสูตร
ทั้ง 4 นี้ พระศาสดาตรัสความเจริญและความเสื่อมในพระศาสนาไว้.
จบอรรถกถาจตุตถอนาคตสูตรที่ 10
จบโยธาชีววรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมเจโตวิมุตติสูตร 2. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร 3. ปฐมธรรม-
วิหาริกสูตร 4. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร 5. ปฐมโยธาชีวสูตร 6. ทุติย-
โยธาชีวสูตร 7. ปฐมอนาคตสูตร 8. ทุติยอนาคตสูตร 9. ตติยอนาคตสูตร
10. จตุตถอนาคตสูตร และอรรถกถา.

เถรวรรคที่ 4


1. รัชนียสูตร


ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ


[81] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระย่อมกำหนัด
ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด 1 ย่อมขัดเคืองในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ขัดเคือง 1 ย่อมหลงในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง 1 ย่อมโกรธในสิ่งอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ 1 ย่อมมัวเมาในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจรรย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่อมของเพื่อน
พรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระย่อมไม่กำหนัดใน
สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด 1 ย่อมไม่ขัดเคืองในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ขัดเคือง 1 ย่อมไม่หลงในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง 1 ย่อมไม่โกรธใน
สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ 1 ย่อมไม่มัวเมาให้สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
มัวเมา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล
ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหม-
จรรย์.
จบรัชนียสูตรที่ 1