เมนู

ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้
ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้
แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบ
ล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต
ข้อที่ 5 นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อัน
เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
ในบัดนี้ แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.
จบตติยอนาคตสูตรที่ 9

อรรถกถาตติยอนาคตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในตติยอนาคตสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺมสนฺโทสา วินยสนฺโทโส ได้แก่ การเสียวินัยย่อมมี
เพราะเสียธรรม. ถามว่า ก็เมื่อธรรมเสีย วินัยชื่อว่า เสียอย่างไร. ตอบว่า
เมื่อธรรมคือสมถวิปัสสนาไม่ตั้งท้อง วินัย 5 อย่างก็ไม่มี. เมื่อธรรมเสียอย่างนี้
วินัยก็ชื่อว่าเสีย ส่วนสำหรับภิกษุผู้ทุศีล ชื่อว่าสังวรวินัยไม่มี เมื่อสังวรวินัย
นั้นไม่มี สมถะและวิปัสสนา ก็ไม่ตั้งท้อง. การเสียธรรมแม้เพราะเสียวินัย
ก็พึงทราบโดยนัยอย่างนี้.

บทว่า อภิธมฺมกถํ ได้แก่ กถาว่าด้วยธรรมสูงสุด มีศีลเป็นต้น.
บทว่า เวทลฺลกถํ ได้แก่ กถาเจือด้วยญาณที่ประกอบด้วยความรู้.
บทว่า กณฺหํ ธมฺมํ โอกฺกมมนา ได้แก่ ก้าวลงสู่กรรมฝ่ายดำ โดยการ
แสวงหาด้วยการแข่งดี เพราะแส่หาความผิดเขา. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย กระทบ
บุคคลด้วยจิตคิดร้ายก็ดี สร้างกรรมฝ่ายดำนั้น สำหรับตนก็ดี กล่าวเพื่อลาภ-
สักการะก็ดี. ชื่อว่า ก้าวลงสู่ธรรมฝ่ายดำเหมือนกัน.
บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี. บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่
ลึกโดยอรรถ. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงโลกุตรธรรม. บทว่า
สุญฺญตรปฏิสํยุตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ.
บทว่า น อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐเปสฺสนฺติ แปลว่า จักไม่ตั้งจิตไว้เพื่อรู้.
บทว่า อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ ได้แก่ พึงศึกษา พึงเล่าเรียน.
บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่งโดยผูกเป็นโศลกเป็นต้น. บทว่า กาเวยฺยา
เป็นไวพจน์ของคำว่า กวิกตา นั้นนั่นแหละ. บทว่า พาหิรกา ได้แก่
ที่ตั้งอยู่ภายนอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่สาวกภายนอก
[พระศาสนา] กล่าวไว้. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัย
ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะรู้ได้ง่าย.
จบอรรถกถาตติยอนาคตสูตรที่ 9

10. จตุตถอนาคตสูตร


ว่าด้วยภัยในอนาคต 5 ประการ


[80] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ซึ่งยังไม่
บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้
เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น 5 ประการเป็นไฉน คือ
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม
ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและ
ป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่
สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน
อนาคตข้อที่ 1 นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้น
อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาต
ที่ดีงาม
เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น
วัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และ
ราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหา
อันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ 2 นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน
กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ
ภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะ
ดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละ
เสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี