เมนู

อรรถกถาทุติยโยธาชีวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโยธาชีวสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อสิจฺมฺมํ คเหตฺวา ได้แก่ ถือดาบและโล่. บทว่า ธนุกลาปํ
สนฺนยฺหิตฺวา
ได้แก่ สอดธนูและแล่งธนู. บทว่า วิยุฬฺหํ ได้แก่ ตั้งอยู่
โดยการเผชิญหน้าพร้อมรบ [ประชิด]. บทว่า สงฺคามํ โอตรติ ได้แก่
เข้ารบใหญ่. บทว่า อุสฺสหติ วายํมติ ได้แก่ ทำความอุตสาหะพยายาม.
บทว่า หนนฺติ แปลว่า ฆ่า บทว่า ปริยาเทนฺติ ได้แก่ ยื้อยุด. บทว่า
อุปลิกขนฺติ ได้แก่ แทง. บทว่า อปเนนฺติ ได้แก่ พาทหารฝ่ายตนไป.
บทว่า อปเนตฺวา ณาตกานํ เนนฺติ ได้แก่ นำทหารฝ่ายตนไปส่งให้ญาติ.
บทว่า นียนาโน ได้แก่ นำไปสู่เรือนตน หรือสำนักญาติที่เหลือ. บทว่า
อุปฏฐหนฺติ ปริจรนฺติ ได้แก่ กระทำความสะอาดเครื่องประหาร และ
สมานแผลเป็นต้น บำรุงคุ้มครอง.
บทว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน ได้แก่ มีกายทวารอันมิได้รักษา.
บทว่า อรกฺขิตาย วาจาย ได้แก่ มีวจีทวารอันมิได้รักษา. บทว่า อรกฺขิ-
เตน จิตฺเตน
ได้แก่ มีมโนทวารอันมิได้รักษา. บทว่า อนุปฏฺฐิตาย
สติยา
ได้แก่ ไม่ทำสติให้ตั้งด้วยดี. บทว่า อสํวุเตหิ อินฺทฺริเยหิ ได้แก่
มีอินทรีย์ที่มีใจเป็นที่ 6 อันมิได้ระวังมิได้คุ้มครองแล้ว. บทว่า ราโค จิตฺตํ
อนุทฺธํเสติ
ได้แก่ ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมกำจัดจิตในสมถะและวิปัสสนา คือ
เหวี่ยงไปเสียไกล.
บทว่า ราคายิโตมฺหิ อาวุโส ราคปเรโต ความว่า ผู้มีอายุ
ผมถูกราคะย้อมแล้ว ถูกราคะตามถึงแล้ว.

ในบทว่า ฃอฏฺฐิกงฺกสูปมา เป็นต้น กามทั้งหลายเปรียบเหมือน
ท่อนกระดูก เพราะอรรถว่ามีความอร่อยน้อย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะ
อรรถว่าทั่วไปแก่คนจำนวนมาก เปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า
ตามเผาผลาญ เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำความเร่าร้อน
มาก เปรียบเหมือนความฝัน เพราะอรรถว่าปรากฏขึ้นนิดหน่อย เปรียบ-
เหมือนของยืมเขามา เพราะอรรถว่าอยู่ได้ชั่วคราว เปรียบเหมือนผลไม้
เพราะอรรถว่าการหักหมดทั้งต้น เปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็น
ที่รองมีดสับ เปรียบเหมือนปลายหอก เพราะอรรถว่าทิ่มแทง เปรียบเหมือน
หัวงู เพราะอรรถว่า น่าสงสัยน่ามีภัย.
บทว่า อุสฺสทิสฺสามิ ได้แก่ จักทำอุตสาหะ. บทว่า ธารยิสฺสามิ
ได้แก่ จักทรงความเป็นสมณะไว้. บทว่า อภิรมิสฺสามิ ได้แก่ จักทำความ
ยินดียิ่ง [ในพรหมจรรย์] ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า จักไม่กระสันสึก. คำที่เหลือ
ในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. ในพระสูตรนี้ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะแล.
จบอรรถกถาทุติยโยธาชีวสูตรที่ 6

7. ปฐมอนาคตสูตร


ว่าด้วยภัยในอนาคต 5 ประการ


[77] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต 5
ประการนี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ
ให้แจ้ง ภัย 5 ประการเป็นไฉน คือ