เมนู

อรรถกถาปฐมโยธาชีวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโยธาชีวสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยธาชีวา ได้แก่ ผู้อาศัยการรบเลี้ยงชีพ [ทหารอาชีพ]
บทว่า รชคฺคํ ได้แก่ กลุ่มละอองที่ฟุ้งขึ้นจากแผ่นดินที่แตกกระจาย เพราะ
การเหยียบย้ำด้วยเท้าของช้างม้าเป็นต้น. บทว่า น สนฺถมฺภติ ได้แก่ ยืน
ปักหลักอยู่ไม่ได้. บทว่า สหติ รชคฺคํ ได้แก่ แม้เห็นกลุ่มละอองก็อดกลั้น.
บทว่า ธชคฺคํ ได้แก่ ยอดธงที่เขายกขึ้นบนหลังช้างม้าเป็นต้น และบนรถ
ทั้งหลาย. บทว่า อุสฺสาทนํ ได้แก่ เสียงกึกก้องอื้ออึงของช้าง ม้า รถ และ
ของหมู่ทหาร. บทว่า สมฺปหาเร ได้แก่ การประหัตประหารแม้ขนาดเล็กน้อย
ที่มาถึงเข้า. บทว่า หญฺญติ ได้แก่ เดือดร้อน คับแค้นใจ. บทว่า พฺยาปชฺ-
ชติ
ได้แก่ ถึงวิบัติ ละปกติภาพไป. บทว่า สหติ สมฺปหารํ ได้แก่
แม้ประสบการประหาร 2-3 ครั้งก็ทน ก็อดกลั้นได้.
บทว่า ตเมว สงฺคามสึสํ ได้แก่ สถานที่ตั้งค่ายชัยภูมิ [สนามรบ]
นั้นนั่นแหละ. บทว่า อชฺฌาวสติ ได้แก่ ครอบครองอยู่ประมาณ 7 วัน
[สัปดาห์]. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะว่า เพื่ออุปการะบำรุงผู้
ต้องอาวุธบาดเจ็บ เพื่อรู้ความชอบแห่งหน้าที่ที่ปฏิบัติมาแล้ว จะได้ปูนบำเหน็จ
ตำแหน่ง และเพื่อเสวยสุขในความเป็นใหญ่ [ได้ชัยชนะ].
เพราะเหตุที่ พระศาสดาไม่ทรงมีกิจหน้าที่ ด้วยเหล่านักรบทั้งหลาย
แต่ทรงนำข้ออุปมานี้มา เพื่อทรงแสดงบุคคล 5 จำพวกเห็นปานนั้นในพระ-
ศาสนานี้ ฉะนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสว่า เอวเมว
โข
เป็นอาทิ. ในคำนั้น บทว่า สํสีทติ ได้แก่ ระทดระทวย เข้าไปใน

มิจฉาวิตก. บทว่า น สกฺโกติ พฺรหฺมจริยํ สนฺตาเนตุํ ได้แก่ คุ้มครอง
พรหมจริยวาส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ขาดสายไว้ไม่ได้. บทว่า
สิกฺขาทุพฺพลฺยํ อาวิกตฺวา ได้แก่ ประกาศความถอยกำลังในสิกขา. ด้วย
บทว่า กิมสฺส รชคฺคสฺมึ ตรัสว่า อะไร ชื่อว่า ปลายผงละอองของบุคคลนั้น.
บทว่า อภิรูปา แปลว่า งดงาม. บทว่า ทสฺสนียา ได้แก่ ควร
แก่การชม. บทว่า ปาสาทิกา ได้แก่ นำความแจ่มใสมาให้จิต โดยการเห็น
เท่านั้น. บทว่า ปรมาย ได้แก่ สูงสุด. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่
ด้วยผิวพรรณแห่งสรีระ และด้วยทรวดทรงแห่งอวัยวะ. บทว่า โอสหติ
แปลว่า ทน. บทว่า อุลฺลปติ แปลว่า กล่าว. บทว่า อุชฺชคฺฆติ ได้แก่
ปรบมือหัวเราะลั่น. บทว่า อุปผณฺเฑติ ได้แก่ เยาะเย้ย. บทว่า อภินิ-
สีทติ
ได้แก่ นั่งชิดกัน หรือนั่งร่วมที่นั่งกัน. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อชฺโฌตฺถรติ แปลว่า ทับ. บทว่า วินิเวเฐตฺวา วินิโม-
เจตฺวา
ได้แก่ ปลดและปล่อยมือของหญิงนั้น จากที่ที่จับไว้. คำที่เหลือใน
ข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล. พระสูตรนี้ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาปฐมโยธาชีวสูตรที่ 5

6. ทุติยโยธาชีวสูตร


ว่าด้วยนักรบและภิกษุ 5 พวก


[76] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่
ในโลก 5 จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่
ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนาม
รบนั้น พวกข้าศึกย่อมฆ่าเขาตายทำลายเขาได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็
มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ 1 มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูก
สอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบ
นั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไป
ถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำไปยังไม่ถึงหมู่ญาติ ทำกาละเสียในระหว่างทาง
นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ 2
มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูก
สอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบ
นั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไป
ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่
ได้ทำกาละด้วยอาพาธนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ 3 มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูก
สอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบ