เมนู

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่
ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลง-
ภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ
อย่างนี้แล.
จบทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนิจฺจสฺญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง
โดยอาการคือมีแล้ว ก็ไม่มี. บทว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา ได้แก่ สัญญา
ที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยอาการคือบีบคั้น. บทว่า
ทุกฺเข อนตฺตสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็
เป็นอนัตตา โดยอาการคือไม่อยู่ในอำนาจ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแล แต่ในพระสูตรแม้ทั้งสองนี้ ก็ตรัสเรียกชื่อว่า วิปัสสนาผลแล.
จบอรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2

3. ปฐมธรรมวิหาริกสูตร


ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม


[73] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรม ๆ ดังนี้
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออก
เร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุ
นี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่
ได้เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการ
หลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา
แล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดารเธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการ
หลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่ง
ธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืน