เมนู

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่
ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลง-
ภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ
อย่างนี้แล.
จบทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนิจฺจสฺญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง
โดยอาการคือมีแล้ว ก็ไม่มี. บทว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา ได้แก่ สัญญา
ที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยอาการคือบีบคั้น. บทว่า
ทุกฺเข อนตฺตสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็
เป็นอนัตตา โดยอาการคือไม่อยู่ในอำนาจ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแล แต่ในพระสูตรแม้ทั้งสองนี้ ก็ตรัสเรียกชื่อว่า วิปัสสนาผลแล.
จบอรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2