เมนู

พังบานประตู พร้อมทั้งกรอบประตู ยกลิ่มสลักทำลายกำแพง รื้อค่ายคู ลดธง
ที่เขายกขึ้นเพื่อความสง่างามแห่งนครลง แล้วเอาไฟเผานครเสีย เข้าไปสู่
เขมนครขึ้นปราสาท มีหมู่ญาติห้อมล้อม บริโภคอาหารอันอเร็จอร่อย ข้อ-
อุปมานี้ฉันใด ข้ออุปมัยก็ฉันนั้น สักกายะเหมือนโจรนคร พระนิพพาน
เหมือนเขมนคร พระโยคาวจรเหมือนนักรบใหญ่ ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า
ตราบใด สักกายะยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้น ก็ไม่รอดพ้นจากกรรมกรณ์ 32
โรค 98 และมหาภัย 25 ท่านจึงเป็นเหมือนนักรบใหญ่ สวมเกราะคือศีล
ถือพระขรรค์คือปัญญา เอาพระอรหัตมรรคตัดเสาระเนียดคือตัณหาเหมือน
เอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียด ถอดสลักคือสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 เหมือนนักรบ
พังบานประตูนครพร้อมทั้งกรอบประตู ยกลิ่มสลักคืออวิชชา เหมือนนักรบ
ยกลิ่มสลัก ทำลายอภิสังขารคือกรรม รื้อคูคือชาติสงสาร เหมือนนักรบทำลาย
กำแพง รื้อค่ายดู ลดธงคือมานะ เหมือนนักรบลดธงที่เขายกขึ้นให้นครโจร
สง่างามเสีย เผานครโจรคือสักกายะ แล้วเข้าสู่นครคือกิเลสปรินิพพาน เป็น
ที่ดับกิเลส เสวยสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ อันมีอมตนิโรธเป็นอารมณ์ ยังเวลาให้
ล่วงไป ๆ เหมือนนักรบเข้าไปในเขมนคร ขึ้นปราสาทชั้นบน บริโภคอาหาร
อันอร่อย ฉะนั้น.
จบอรรถกถาปฐมเจโตวิมุตติสูตรที่ 1

2. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร


ว่าด้วยธรรมมีวิมุตติเป็นผล


[72 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์

ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ธรรม 5 ประการ
เป็นไฉน คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง 1 ความสำคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง 1
ความสำคัญว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ 1 ความสำคัญในการละ 1
ความสำคัญในความคลายกำหนัด 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการ
นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมี
เจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็น
ผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุ
นี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้
ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้
ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละชาติสงสาร ที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสา
ระเนียดขึ้นได้
อย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่
ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลง-
ภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ
อย่างนี้แล.
จบทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนิจฺจสฺญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง
โดยอาการคือมีแล้ว ก็ไม่มี. บทว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา ได้แก่ สัญญา
ที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยอาการคือบีบคั้น. บทว่า
ทุกฺเข อนตฺตสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็
เป็นอนัตตา โดยอาการคือไม่อยู่ในอำนาจ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแล แต่ในพระสูตรแม้ทั้งสองนี้ ก็ตรัสเรียกชื่อว่า วิปัสสนาผลแล.
จบอรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ 2