เมนู

โยธาชีววรรคที่ 3


1. ปฐมเจโตวิมุตติสูตร


ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้บรรลุวิมุตติ


[71] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ อันบุคคลเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ธรรม 5 ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย 1
ย่อมมีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร 1 ย่อมมีความสำคัญว่าไม่น่า
ยินดีในโลกทั้งปวง 1 ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง 1 ย่อม
เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการ
นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมี
เจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็น
ผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุ
นี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้
ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น
เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล.

ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสา
ระเนียดขึ้นได้
อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น
เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุ
ชื่อว่า เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะ
เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้
เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธง
ลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใด ๆ
อย่างนี้แล.
จบปฐมเจโตวิมุตติสูตรที่ 1

โยธาชีววรรควรรณนาที่ 3


อรรถกถาปฐมเจโตวิมุตติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเจโตวิมุตติสูตรที่ 1 แห่งโยธาชีววรรค
ที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า ยโต โข ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม
ณ บัดนี้ เพื่อทรงสรรเสริญภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต ตาม
นัยที่ตรัสไว้แล้ว ณ หนหลัง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต โข แปลว่า
กาลใดแล. บทว่า อุกฺขิตฺตปลีโฆ ได้แก่ ยกลิ่มสลักคืออวิชชาออกไปแล้ว.
บทว่า สงฺกิณฺณปริกฺโข ได้แก่ รื้อคูคือสงสารวัฏให้ย่อยยับแล้ว. บทว่า
อพฺพุเฬฺหสิโก ได้แก่ ถอนเสาระเนียดคือตัณหาออกไปแล้ว. บทว่า
นิรคฺคโฬ ได้แก่ ถอดบานประตูคือนิวรณ์ออกเสียแล้ว. บทว่า ปนฺนทฺธโช
ปนฺนภาโร
ได้แก่ ลดธงคือมานะ และภาระคือขันธ์ อภิสังขารและกิเลส
ลงเสียแล้ว. บทว่า วิสํยุตฺโต ได้แก่ หลุดพ้นจากวัฏฏะ. คำที่เหลือพึงทราบ
ตามนัยแห่งพระบาลีนั่นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวลาของพระขีณาสพ ผู้ทำกิเลสให้สิ้นไป
ด้วยมรรคแล้ว ไปยังที่นอนอันดีคือนิโรธ เข้าผลสมาบัติมีพระนิพพานเป็น
อารมณ์อยู่ ด้วยพระดำรัสมีประมาณเท่านี้. เปรียบเหมือนนคร 2 นคร
นครหนึ่งคือโจรนคร นครหนึ่งคือเขมนคร ครั้งนั้น นักรบใหญ่ท่านหนึ่ง
คิดว่า ตราบใด โจรนครยังตั้งอยู่ ตราบนั้น เขมนครก็ย่อมไม่พ้นภัย จำเรา
จักทำโจรนคร ไม่ให้เป็นนคร แล้วจึงสวมเกราะถือพระขรรค์ [ศัสตราวุธ 2
คม] เข้าไปยังโจรนคร เอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียด ที่เขาตั้งไว้ใกล้ประตูนคร