เมนู

อรรถกถาทุติยอคารวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอคารวสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภพฺโพ คือ ถือความเป็นผู้อาภัพ. บทว่า วุฑฺฒึ แปลว่า
เจริญ. บทว่า วิรุฬฺหึ ได้แก่ ถึงควานเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะความเป็น
ผู้งอกงาม. บทว่า เวปุลฺลํ ได้แก่ ความเป็นใหญ่. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาทุติยอคารวสูตรที่ 10
จบเสขพลวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สังขิตตสูตร 2. วิตถตสูตร 3. ทุกขสูตรค 4. ภตสูตร
5. สิกขสูตร 6. สมาปัตติสูตร 7. กามสูตร 8. จวนสูตร 9. ปฐมอคารว-
สูตร 10. ทุติยอคารวสูตร และอรรถกถา.

พลวรรคที่ 2


1. อนนุสสุตสูตร


ว่าด้วยกำลัง 5 ของพระตถาคต


[11] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุถึงบารมีอันเป็นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง
ในธรรมที่ไม่ได้สดับแล้วในกาลก่อนจึงปฏิญาณได้ กำลังของตถาคต 5 ประการ
นี้ ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือ-
สีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง 5 ประการเป็นไฉน คือ
กำลัง คือ ศรัทธา 1 กำลัง คือ หิริ 1 กำลัง คือ โอตตัปปะ 1
กำลัง คือ วิริยะ 1 กำลัง คือ ปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง
ของตถาคต 5 ประการนี้แล ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะ
ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัทประกาศพรหมจักร.
จบอนนุสสุตสูตรที่ 1
พลวรรควรรณนาที่ 2

อรรถกถาอนนุสสุตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนนุสสุตสูตรที่ 1 แห่งพลวรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุพฺพาหํ ภิกฺขเว อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งในธรรมทั้งหลายคือสัจธรรม 4 อันเราไม่เคยฟัง