เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรมมีวิริยะอย่างยิ่งเป็นที่ 5
นี้ เราได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อเหตุมีอยู่ เราถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน
ได้ในธรรมนั้น ๆ โดยแน่นอน ถ้าเราหวังก็พึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ
คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
เมื่อเหตุมีอยู่ เราถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้โดยแน่นอน
ฯลฯ ถ้าเราหวัง ก็พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
เมื่อเหตุมีอยู่ เราถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้โดยแน่นอน.
จบทุติยอิทธิปาทสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยอิทธิปาทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอิทธิปาทสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาคมอิทธิบาทของพระองค์ ที่พระองค์แทง-
ตลอดแล้วที่โคนไม้โพธิ แล้วจึงตรัสอภิญญา 6 ของพระองค์นั่นแหละไว้ใน
เบื้องสูงต่อไป ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาทุติยอิทธิปาทสูตรที่ 8

9. นิพพิทาสูตร


ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้บรรลุนิพพาน


[69] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ อันบุคคลเจริญ
แล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว
ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่
งามในกาย 1 มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร 1 มีความสำคัญว่าไม่
น่ายินดีในโลกทั้งปวง 1 พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง 1 ย่อมเข้า
ไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
จบนิพพิทาสูตรที่ 9

10. อาสวักขยสูตร


ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้สิ้นอาสวะ


[70] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม 5 ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย 1 มี
ความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร 1 มีความสำคัญว่าไม่ยินดีในโลกทั้งปวง 1
พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง 1 เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
จบอาสวักขยสูตรที่ 10
จบสัญญาวรรคที่ 2