เมนู

อรรถกถาทุติยทุลลภสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยทุลลภสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี แปลว่า ผู้รับโอวาทที่ท่านให้แล้ว โดย
ข้างเบื้องขวา (โดยความเคารพ). คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยทุลลภสูตรที่ 10
จบนีวรณวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อาวรณสูตร 2. ราสิสูตร 3. อังคสูตร 4. สมยสูตร
5. มาตุปุตติกสูตร 6. อปัชฌายสูตร 7. ฐานสูตร 8. กุมารลิจฉวีสูตร
9. ปฐมทุลลภสูตร 10. ทุติยทุลลภสูตร และอรรถกถา.

สัญญาวรรคที่ 2


1. ปฐมสัญญาสูตร


ว่าด้วยสัญญาที่มีผลมาก 5 ประการ


[61] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 5 ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา 5 ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา
อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัญญา 5 ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
จบปฐมสัญญาสูตรที่ 1

สัญญาวรรควรรณนาที่ 2


อรรถกถาปฐมสัญญาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหปฺผลา คือ มีผลมากด้วยผลอันเป็นวิบาก. ชื่อว่า มี
อานิสงส์มากด้วยอานิสงส์อันเป็นวิบาก. บทว่า อมโตคธา คือ มีพระนิพพาน
เป็นที่พึ่งพิง. บทว่า สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้เบื่อระอาในโลกอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งธาตุ 3 ทั้งหมด.
จบอรรถกถาปฐมสัญญาสูตรที่ 1