เมนู

บวชโดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำความมัว
เมาทั้งปวงในความไม่มีใคร ในความเป็น
หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้
มีแล้วแก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้
เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้
ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติ
พรหมจรรย์.

จบฐานสูตรที่ 7

อรรถกถาฐานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชราธมฺโมมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้มีความแก่เป็นสภาพ. บทว่า
ชรํ อนตีโต ความว่า เราไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ย่อมเที่ยวไปในภายใน
ความแก่นั่นเอง. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบททั้งหลายว่า
กมฺมสฺสโก เป็นต้น กรรมเป็นของเรา คือเป็นของมีอยู่ของตน เพราะฉะนั้น
เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน. บทว่า กมฺมทายาโท แปลว่า เราเป็นทายาท
ของกรรม อธิบายว่า กรรมเป็นมรดก คือเป็นสมบัติของเรา กรรมเป็น
กำเนิดคือเป็นเหตุเกิดของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด.
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์.
อธิบายว่ามีกรรมเป็นญาติ. กรรมเป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่งของเรา เพราะฉะนั้น

เราจึงชื่อว่ามีกรรมที่อาศัย. บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ แปลว่า
เราเป็นทายาทชองกรรมนั้น อธิบายว่า เราจักเป็นผู้รับผลทีกรรมนั้นให้.
บทว่า โยพฺพนมโท ได้แก่ ความเมาเกิดขึ้น ปรารภความเป็น
หนุ่มสาว. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มคฺโค สญฺชายติ
ได้แก่ โลกุตรมรรคย่อมเกิดขึ้นพร้อม. บทว่า สํโยชนานิ ปหียนฺติ
ความว่า สัญโญชน์ 10 ประการ เธอย่อมละได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า
อนุสยา พยนฺตี โหนฺติ ความว่า อนุสัย 7 ประการ สิ้นสุดแล้ว คือมี
ทางรอบ ๆ ตัดขาดแล้ว ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาในฐานะทั้ง
5 ในหนหลังไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ตรัสโลกุตรมรรคในฐานะทั้ง 5 เหล่านี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรุปด้วยคาถาทั้งหลาย จึงตรัส
ว่า พฺยาธิธมฺมา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ญตฺวา ธมฺมํ นิรูปธึ
ความว่า รู้ธรรมคือพระอรหัตที่ปราศจากอุปธิแล้ว. บทว่า สพฺเพ มเท
อภิโภสฺมิ ความว่า เราครอบงำความเมาแม้ทั้ง 3 อย่างเหล่านี้ได้ทั้งหมด
อธิบายว่า เราก้าวล่วงเสียแล้วดำรงอยู่. บทว่า เนกฺขมมํ ทฏฺฐุ เขมโต
ความว่า เห็นการบรรพชาโดยความเป็นของเกษม. บทว่า ตสฺส เม อหุ
อุสฺสาโห นิพฺพานํ อภิปสฺสโต ความว่า สำหรับเราผู้เห็นชัด ซึ่งพระนิพพาน
อยู่ได้มีความพยายามแล้ว. บทว่า อนิวตฺติ ภวิสฺสามิ ความว่า เราจักเป็น
ผู้ไม่กลับไปจากการบรรพชา จักไม่กลับไปจากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
จักไม่กลับไปจากพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า พฺรหฺมจริยปรายโน คือ
จักเป็นผู้มีมรรคพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ถึงมรรคมีองค์ 8 อันเป็นโลกุตระไว้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาฐานสูตรที่ 7

8. กุมารลิจฉวีสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ให้ความเจริญอย่างเดียว


[58] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่เมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาต ครั้นเสด็จ
กลับจากบิณฑบาตแล้ว เวลาปัจฉาภัต เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน ประทับนั่ง
พักผ่อนกลางวันที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ก็สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีกุมารหลายคนถือธนู
ที่ขึ้นสาย มีฝูงสุนัขแวดล้อม เดินเที่ยวไปในป่ามหาวัน ได้เห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วจึงวางธนูที่ขึ้นสาย ปล่อย
ฝูงสุนัขไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้ว ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหานามะ เดินพักผ่อนอยู่ในป่ามหาวัน ได้เห็น
เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านั้นผู้ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้เปล่งอุทานว่า เจ้าวัชชีจักเจริญ ๆ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนมหานามะ ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เจ้าวัชชีจักเจริญ ๆ.
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ เป็นผู้ดุร้าย
หยาบคาย กระด้าง ของขวัญต่าง ๆ ที่ส่งไปในตระกูลทั้งหลาย คือ อ้อย
พุทรา ขนม ขนมต้ม หรือขนมแดกงา เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ย่อมแย่งชิงกิน
ย่อมเตะหลังหญิงแห่งตระกูลบ้าง เตะหลังกุมารีแห่งตระกูลบ้าง แต่บัดนี้
เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า.