เมนู

ข้างหน้า ได้แก่กระทำไว้เบื้องหน้า. บทว่า เย จ กาเม ปริญฺญาย ความว่า
ชนเหล่าใดเป็นบัณฑิตกำหนดรู้กามแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยปริญญา 3. บทว่า
จรนฺติ อกุโตภยา ความว่า ขึ้นชื่อว่าความมีภัยแต่ที่ไหน ๆ ไม่มีแก่พระ-
ขีณาสพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้น จึงหาภัยมิได้แต่ที่ไหนๆ
เที่ยวไป. บทว่า ปารคตา ความว่า นิพพานท่านเรียกว่าฝั่ง. อธิบายว่า
เข้าถึงนิพพานนั้น คือการทำให้แจ้งแล้วดำรงอยู่. บทว่า อาสวกฺขยํ ได้แก่
พระอรหัต. ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะเท่านั้น ในคาถาทั้งหลาย
ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถามาตุปุตติกสูตรที่ 5

6. อุปัชฌายสูตร


ว่าด้วยผู้ที่นิวรณ์ครอบงำจิตไม่ได้


[56] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่
ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศ-
ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะ
ย่อมครอบงำจิตของผม ผมได้ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมมีความสงสัย
ในธรรมทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ กายของผม
หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้ง

แก่ผม ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิตของผม ผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
และผมมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ การที่กายของเธอหนักขึ้น
ทิศทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่เธอ เธอ
ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และเธอมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมี
แก่ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่
ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่
ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวัน ทุกคืน ดูก่อนภิกษุ เพราะ
เหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่
เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน
ทุกคืน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ลุกขึ้นจากที่นั่งถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้นหลีกออกจากหมู่อยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่ ไม่นานเท่าไรได้ทำให้แจ้ง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ก็แลภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวน
พระอรหันต์ทั้งหลาย.
ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ได้บรรลุอรหัตแล้ว จึงเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตน
ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมไม่ครอบ-

งำจิตของผม ผมยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัยในธรรม
ทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุนั้น พาภิกษุผู้สัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
บัดนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลาย
ย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของผม ผมยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ การที่กายของเธอไม่หนักขึ้น
ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่เธอ ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ครอบงำจิตของเธอ เธอยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และเธอไม่มีความ
สงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีได้แก่ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรม
ทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญ
โพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบอุปัชฌายสูตรที่ 6

อรรถกถาอุปัชฌายสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุปัชฌายสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มธุรกชาโต แปลว่า มีความหนักเกิดขึ้น. บทว่า ทิสา จ
เม น ปกฺขายนฺติ
ความว่า ภิกษุกล่าวว่า ทิศใหญ่ 4 ทิศ และทิศน้อย
4 ทิศ ไม่ปรากฏแก่กระผม. บทว่า ธมฺมา จ มํ นปฺปฏิภนฺติ ความว่า
แม้ธรรมคือสมถะและวิปัสสนาก็ไม่ปรากฏแก่กระผม. บทว่า อนภิรโต จ
พฺรหฺมจริยํ จรามิ
ความว่า กระผมเป็นผู้กระสันแล้วอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า อุปัชฌาย์ฟังถ้อยคำของภิกษุ
นั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้เป็นพุทธเวไนยบุคคล จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลเหตุการณ์
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อวิปสฺสกสฺส กุสลานํ ธมฺมานํ ความว่า
ผู้ไม่เห็นแจ้งอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นกุศล คือไม่แสวงหา ไม่เสาะหาอยู่. บทว่า
โพธิปกฺขิกานํ ได้แก่ ธรรม 37 ประการมีสติปัฏฐานเป็นต้น.
จบอรรถกถาอุปัชฌายสูตรที่ 6

7. ฐานสูตร


ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ 5 ประการ


[57] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 5 ประการนี้ อันสตรี บุรุษ
คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ 5 ประการเป็นไฉน คือ สตรี
บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา