เมนู

อรรถกถาฐานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อลพฺภนียานิ ได้แก่ ฐานะใคร ๆ ไม่พึงได้ คือ ไม่อาจจะได้.
บทว่า ฐานานิ คือ เหตุ. บทว่า ชราธมฺมํ มา ชิริ ความว่า สิ่งใดของเรา
มีความแก่เป็นสภาพ ขอสิ่งนั้นจงอย่าแก่. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า นจฺฉาเทยฺย คือ ไม่ชอบใจ. บทว่า อพฺพุหิ คือ นำออกไป.
บทว่า ยโต คือ กาลใด. บทว่า อาปทาสุ คือ ในอุปัทวะ
ทั้งหลาย. บทว่า น เวธติ คือ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศกถึง. บทว่า
อตฺถวินิจฺฉยญฺญู คือ เป็นผู้ฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล. บทว่า ปุราณํ
ได้แก่ คงเก่าอยู่นั่นแหละ เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง. บทว่า ชปฺเปน
คือ ด้วยการสรรเสริญ. บทว่า มนฺเตน คือ ด้วยการร่ายมนต์ซึ่งมีอานุภาพ
มาก. บทว่า สุภาสิเตน คือ ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต. บทว่า อนุปฺปทาเนน
ได้แก่ ด้วยการให้ทรัพย์หนึ่งร้อย หรือหนึ่งพัน. บทว่า ปเวณิยา วา ได้แก่
ด้วยวงศ์ตระกูล อธิบายว่า ด้วยการกล่าวถึงประเพณีอย่างนี้ว่า ข้อนี้ประเพณี
ของเราประพฤติกันมาแล้ว สิ่งนี้มิได้ประพฤติมาแล้วดังนี้. บทว่า ยถา ยถา
ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ
ความว่า จะพึงได้ประโยชน์มีความไม่แก่เป็นต้นแห่งสิ่ง
ทั้งหลายที่มีความแก่เป็นธรรมดาเป็นต้นในที่ใด ๆ ด้วยประการใด ๆ เพราะ
การสรรเสริญเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย
ได้แก่ พึงทำความบากบั่นในที่นั้น ๆ โดยประการนั้น ๆ. บทว่า กมฺมํ ทฬฺหํ
ได้แก่ กรรมอันยังสัตว์ให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะเราทำให้มั่นคงสั่งสมไว้. ควร
พิจารณาอย่างนี้ว่า บัดนี้ เรานั้นจะทำอะไรดังนี้แล้วยับยั้งไว้.
จบอรรถกถาฐานสูตรที่ 8