เมนู

นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และ
ให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิด
ณ ที่ใด ๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ
ดังนี้.
จบมนาปทายีสูตรที่ 4

อรรถกถามนาปทายีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมนาปทายีสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุคฺโค ได้แก่ ผู้ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณทั้งหลาย.
บทว่า สาลปุปฺผกํ ขาทนียํ ได้แก่ ของเคี้ยวคล้ายดอกสาละ ทำด้วยแป้ง
ข้าวสาลี ปรุงด้วยของอร่อย 4 อร่อย จริงอยู่ ของเคี้ยวชนิดนั้น เขาแต่งให้
มีสีกลีบและเกษรแล้ว ทอดในน้ำมันเนย ซึ่งปรุงด้วยเครื่องเทศมียี่หร่าเป็นต้น
สุกแล้ว ผึ่งให้สะเด็ดน้ำมัน บรรจุภาชนะมีฝาอบกลิ่นไร้ให้หอม. อุคคคฤหบดี
ประสงค์จะถวายในระหว่างอาหาร จึงกราบทูลอย่างนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ผู้ประทับนั่งดื่มข้าวยาคู. บทว่า ปฏิคฺคเหสิ ภควา นั่นเป็น
เพียงเทศนา. ก็อุบาสกได้ถวายขาทนียะนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ
500 รูป ถวายแม้มังสสุกรเป็นต้น ก็เหมือนขาทนียะนั้น ฉะนั้น. ในบท
เหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนวรสุกรมํสํ ความว่า มังสสุกรที่ปรุงด้วยเครื่อง
เทศมียี่หร่าเป็นต้น กับพุทราที่มีรสดี ทำให้สุกแล้วเก็บไว้ปีหนึ่งกิน. บทว่า
นิพฺพฏฺฏเตลกํ คือ น้ำมันเดือดพล่านแล้ว. บทว่า นาฬิยาสากํ ได้แก่
ฝักนาฬิกะ ที่คลุกกับแป้งสาลี แล้วทอดน้ำมันเนย ปรุงด้วยของอร่อย

4 ชนิดแล้วอบเก็บไว้. ในบทว่า เนตํ ภควโต กปฺปติ นี้ ท่านหมายถึง
ของเป็นอกัปปิยะว่า แม้เป็นกัปปิยะก็ไม่ควร.
เศรษฐีให้นำของนั้นแม้ทั้งหมดมาแล้ว ทำให้เป็นกอง สิ่งของใด ๆ
เป็นอกัปปิยะก็ส่งสิ่งของนั้น ๆ ไปร้านตลาดแล้ว จึงถวายสิ่งของเครื่องอุปโภค
และบริโภคที่เป็นกัปปิยะ แผ่นไม้จันทน์ไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 2 ศอกคืบ
กว้างประมาณศอกคืบ แต่เป็นของมีราคามาก เพราะเป็นของมีสาระอย่างดี
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแผ่นไม้จันทน์นั้นแล้ว โปรดให้เกรียกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
ตรัสสั่งให้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อบดเป็นยาหยอดตา.
บทว่า อุชุภูเตสุ ได้แก่ ในท่านผู้ปฏิบัติตรงด้วยกาย วาจา ใจ.
บทว่า ฉนฺทสา ได้แก่ ความรัก. ในบทว่า จตฺตํ เป็นต้น ชื่อว่า สละ
แล้วด้วยอำนาจการบริจาค ชื่อว่าปล่อยแล้วด้วยสละปล่อยไปเลย ชื่อว่าอนัค-
คหิตะ เพราะจิตไม่คิดจะเอาคืน เพราะมีจิตไม่เสียดาย. บทว่า เขตฺตูปเม
คือ เสมือนนาเพราะเป็นที่งอกงาม. บทว่า อญฺญตรํ มโนมยํ ได้แก่
หมู่เทพที่บังเกิดด้วยใจที่อยู่ในฌานอย่างหนึ่ง ในชั้นสุทธาวาส. บทว่า
ยถาธิปฺปาโย คือ ตามอัธยาศัย. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามอะไร
ด้วยบทนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า ท่านมีอัธยาศัยหมายพระอรหัตครั้งเป็นมนุษย์
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสถามว่าเราจะถามข้อนั้น. แม้เทพบุตร
ได้กราบทูลว่า ตคฺฆ เม ภควา ยถาธิปฺปาโย ดังนี้ ก็เพราะท่านบรรลุ
พระอรหัตแล้ว. บทว่า ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ ความว่า เขาย่อมเกิดใน
กุลสมบัติ 3 หรือในสวรรค์ชั้นกามาพจร 6 ชั้น ณ ภพใด ๆ ก็เป็นผู้มีอายุยืน
มียศ ณ ภพนั้น ๆ.
จบอรรถกถามนาปทายีสูตรที่ 4

5. อภิสันทสูตร


ว่าด้วยห้วงบุญห้วงกุศล 5 ประการ


[45] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญมีห้วงกุศล 5 ประการนี้ เป็น
เหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุบริโภคจีวรของผู้ใด เข้าเจโต-
สมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศลของผู้นั้น หาประมาณมิได้
เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็น
ไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข ภิกษุบริโภคบิณฑบาตของผู้ใด. . .ภิกษุบริโภควิหารของผู้ใด. . .
ภิกษุบริโภคเตียง ตั่งของผู้ใด. . . ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชของผู้ใด เข้า
เจโตสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ของผู้นั้นหาประมาณ
มิได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศ
ให้เป็นไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุข.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล 5 ประการนี้แล เป็นเหตุ
นำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อม
เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข ก็การที่จะถือเอาประมาณแห่งบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ
ห้วงกุศล 5 ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล มีประมาณเท่านี้ เป็นเหตุ
นำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป