เมนู

3. สิกขานิสังสสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์


[245] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้
อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด วิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็น
อธิปไตย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร
สิกขา คือ อภิสมาจาร เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ เพื่อ
ความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว
สิกขา คือ อภิสมาจารเราบัญญัติแล้วแก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่
เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการใด ๆ สาวก
นั้น เป็นผู้มีปกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ต่าง ไม่ให้พร้อย ย่อม
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายด้วยประการนั้น ๆ.
อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์เราบัญญัติ
แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอัน
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ สาวกนั้นเป็นผู้มีปกติไม่ทำ
สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขา
เป็นอานิสงส์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรม
ทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ ธรรม

ทั้งหมดนั้นอันสาวกพิจารณาด้วยปัญญา ด้วยประการนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างไร ธรรม
ทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ ธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรม
อันวิมุตติถูกต้องแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น
อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างไร สติอัน
ภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่
บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือว่า จักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาอันบริบูรณ์แล้วไว้
ด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า
เราจักบำเพ็ญสิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
หรือว่าจักอนุเคราะห์สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์แล้วไว้
ด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า
เราจักพิจารณาธรรมที่เราไม่ได้พิจารณาแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ หรือว่า
จักอนุเคราะห์ธรรมที่เราพิจารณาแล้วได้ด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง
สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูก
ต้องด้วยวิมุตติ หรือว่า จักอนุเคราะห์ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาใน
ฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิป-
ไตยอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่เรากล่าวว่า เราอยู่พระพฤติพรหมจรรย์อัน
มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย
ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.
จบสิกขานิสังสสูตรที่ 3

อรรถกถาสิกขานิสังสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขานิสังสสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
พรหมจรรย์ ซึ่ง สิกขานิสังสะ เพราะมีสิกขาเป็นอานิสงส์. ชื่อ
ปัญญุตตระ เพราะมีปัญญาเป็นยอด. ชื่อ วิมุตติสาระ เพราะมีวิมุตติ
เป็นแก่น. ชื่อ สตาธิปเตยยะ เพราะมีสติเป็นใหญ่. ท่านอธิบายไว้ว่า
พรหมจรรย์ที่อยู่ประพฤติเพื่อประโยชน์แก่อานิสงส์เป็นต้น อันได้แก่สิกขา
เป็นต้นแม้เหล่านั้น. บทว่า อภิสมาจาริกา ได้แก่ สิกขาเนื่องด้วยอภิสมาจาร
อันสูงสุด. บทนี้เป็นชื่อของศีลที่ทรงบัญญัติไว้ด้วยเป็นข้อวัตรปฏิบัติ. บทว่า
ตถา ตถา โส ตสฺสา สิกฺขาย ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ใคร่ศึกษาใน
สิกขาบทนั้น อย่างนั้น ๆ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกา นี้ เป็นชื่อแห่ง
มหาศีล 4 อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. บทว่า สพฺพโส แปลว่า โดย
อาการทั้งปวง.
บทว่า ธมฺมา ได้แก่ สัจจธรรม 4. บทว่า ปญฺญาย สมเวกฺขิตา
โหนฺติ
ความว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอันสาวกพิจารณาเห็นด้วยดี ด้วยมรรค
ปัญญากับสมาธิและวิปัสสนา. บทว่า วิมุตฺติยา ผุสิตา โหนฺติ ได้แก่
ธรรมทั้งหลายอันสาวกถูกต้อง (บรรลุ) ด้วยผัสสะ คือญาณแห่งวิมุตติ คือ
อรหัตผล. บทว่า อชฺฌตฺตํเยว สติ สุปฏฺฐิตา โหติ ความว่า สติอันสาวก
เข้าไปตั้งไว้ด้วยดีในภายในตนนั้นเอง. บทว่า ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ
ความว่า เราจักประคบ ประคองด้วยวิปัสสนาปัญญา. แม้ใน บทว่า ปญฺญาย
สมเวกฺขิสฺสามิ
นี้ ท่านก็ประสงค์เอาแม้วิปัสสนาปัญญา แต่ในบทนี้ว่า ผุสิตํ
วา ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ
(เราจักประดับประคอง
ธรรมที่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ) ท่านประสงค์เอามรรคปัญญา
อย่างเดียว.
จบอรรถกถาสิกขานิสังสสูตรที่ 3