เมนู

อรรถกถาอาปัตติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอาปัตติสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ขุรมุณฺฑํ กริตฺวา ได้แก่โกนผมเหลือไว้ 5 แหยม. บทว่า
ขรสฺเรน คือ เสียงกร้าว. บทว่า ปณเวน คือ กลองประหาร. บทว่า
ถลฏฺฐสฺส คือ บุรุษผู้ยืนอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง. บทว่า สีสจฺเฉชฺชํ คือ ควร
แก่การตัดหัว. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ ยํ นาม. บทว่า โส วตสฺสํ
ความว่า เรานั้นหนอไม่ควรทำบาปเห็นปานนี้เลย. บทว่า ยถาธมฺมํ ปฎิ-
กริสฺสติ คือ จักกระทำคืนสมควรแก่ธรรม. อธิบายว่า จักตั้งอยู่ในสามเณร-
ภูมิ. บทว่า กาฬกํ วตฺถํ ปริธาย ได้แก่ นุ่งผ้าเก่าสีดำ. บทว่า โมสลฺลํ
แปลว่า ควรแบกสาก.
บทว่า ยถาธมฺมํ ความว่า ออกจากอาบัติในธรรมวินัยนี้ แล้วดำรง
อยู่ในความบริสุทธิ์ ชื่อว่า ย่อมทำคืนตามธรรม. บทว่า อสฺสปุฏํ ได้แก่
ห่อขี้เถ้า. บทว่า คารยฺหํ อสฺสปุฏํ ได้แก่ ควรเทินห่อขี้เถ้า น่าติเตียน.
บทว่า ยถาธมฺมํ ได้แก่ แสดงอาบัติในธรรมวินัยนี้ ชื่อว่า ย่อมทำคืน
ตามธรรม. บทว่า อุปวชฺชํ ได้แก่ ควรตำหนิ. บทว่า ปาฏิเทสนีเยสุ
คือควรแสดงคืน. อาบัติที่เหลือแม้ทั้งหมดท่านสงเคราะห์ด้วยบทนี้. บทว่า
อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อาปตฺติภยานิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาบัติภัย (ความกลัวอาบัติ) 4 เหล่านี้ ชื่อว่า ภัยอาศัยอาบัติเกิดขึ้น.
จบอรรถกถาอาปัตติสูตรที่ 2

3. สิกขานิสังสสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์


[245] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้
อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด วิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็น
อธิปไตย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร
สิกขา คือ อภิสมาจาร เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ เพื่อ
ความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว
สิกขา คือ อภิสมาจารเราบัญญัติแล้วแก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่
เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการใด ๆ สาวก
นั้น เป็นผู้มีปกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ต่าง ไม่ให้พร้อย ย่อม
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายด้วยประการนั้น ๆ.
อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์เราบัญญัติ
แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอัน
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ สาวกนั้นเป็นผู้มีปกติไม่ทำ
สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขา
เป็นอานิสงส์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรม
ทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ ธรรม