เมนู

อรรถกถาอาปัตติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอาปัตติสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ขุรมุณฺฑํ กริตฺวา ได้แก่โกนผมเหลือไว้ 5 แหยม. บทว่า
ขรสฺเรน คือ เสียงกร้าว. บทว่า ปณเวน คือ กลองประหาร. บทว่า
ถลฏฺฐสฺส คือ บุรุษผู้ยืนอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง. บทว่า สีสจฺเฉชฺชํ คือ ควร
แก่การตัดหัว. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ ยํ นาม. บทว่า โส วตสฺสํ
ความว่า เรานั้นหนอไม่ควรทำบาปเห็นปานนี้เลย. บทว่า ยถาธมฺมํ ปฎิ-
กริสฺสติ คือ จักกระทำคืนสมควรแก่ธรรม. อธิบายว่า จักตั้งอยู่ในสามเณร-
ภูมิ. บทว่า กาฬกํ วตฺถํ ปริธาย ได้แก่ นุ่งผ้าเก่าสีดำ. บทว่า โมสลฺลํ
แปลว่า ควรแบกสาก.
บทว่า ยถาธมฺมํ ความว่า ออกจากอาบัติในธรรมวินัยนี้ แล้วดำรง
อยู่ในความบริสุทธิ์ ชื่อว่า ย่อมทำคืนตามธรรม. บทว่า อสฺสปุฏํ ได้แก่
ห่อขี้เถ้า. บทว่า คารยฺหํ อสฺสปุฏํ ได้แก่ ควรเทินห่อขี้เถ้า น่าติเตียน.
บทว่า ยถาธมฺมํ ได้แก่ แสดงอาบัติในธรรมวินัยนี้ ชื่อว่า ย่อมทำคืน
ตามธรรม. บทว่า อุปวชฺชํ ได้แก่ ควรตำหนิ. บทว่า ปาฏิเทสนีเยสุ
คือควรแสดงคืน. อาบัติที่เหลือแม้ทั้งหมดท่านสงเคราะห์ด้วยบทนี้. บทว่า
อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อาปตฺติภยานิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาบัติภัย (ความกลัวอาบัติ) 4 เหล่านี้ ชื่อว่า ภัยอาศัยอาบัติเกิดขึ้น.
จบอรรถกถาอาปัตติสูตรที่ 2