เมนู

อรรถกถาอัตตันตปสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอัตตันตปสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บรรดาบทว่า อตฺตนฺตโป เป็นต้น ชื่อว่า ทำตนให้เดือดร้อน
เพราะเผาตน คือ ทำตนให้ถึงทุกข์. การประกอบความเพียรทำตนเองให้
เดือดร้อน ชื่อว่าความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่า ทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เพราะเผาผู้อื่น. การประกอบความเพียรทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ชื่อว่า ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม
ได้แก่ ในอัตภาพนี้แหละ. ในบทว่า นิจฺฉาโต ตัณหา ท่านเรียกว่า ฉาตะ
ชื่อว่า นิจฉาตะ เพราะไม่มีตัณหา. ชื่อว่า นิพพุตะ เพราะกิเลสทั้ง
หมดดับ ชื่อว่า สีติภูตะ เพราะเป็นผู้เย็น เหตุที่ไม่มีกิเลสเผาในภายใน
ชื่อว่า สุขปฏิสํเวที เพราะเสวยสุขใน ฌาน มรรค ผล และนิพพาน. บทว่า
พฺรหฺมภูเตน อตฺตนา ได้แก่ มีตนประเสริฐ. บทมีอาทิว่า อเจลโก
มีเนื้อความดังกล่าวไว้แล้ว.
ในบทมี การฆ่าแพะ เป็นต้น แพะ ท่านเรียก อุรพฺภา ชื่อว่า โอรัพ
ภิกะ
เพราะฆ่าแพะ. แม้ในคำว่า สูกริกะ คนฆ่าสุกรเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน .
บทว่า ลุทฺโท คือ ทารุณ หยาบช้า. บทว่า มจฺฉฆาตโก ได้แก่ คนล่าปลา
คือ คนจับปลาชาวประมง. บทว่า พนฺธนาคาริโก ได้แก่ ผู้คุมเรือนจำ.
บทว่า กูรูรกมฺมนฺตา ได้แก่ ผู้มีการงานหยาบช้า.
บทว่า มุทฺธาภิสิตฺโต ได้แก่ พระราชาผู้อันเขารดน้ำบนพระเศียร
โดยอภิเษกเป็นกษัตริย์. บทว่า ปุรตฺถิเมน นครสฺส ได้แก่ ทางทิศ
ตะวันออกจากนคร. บทว่า สณฺฐาคารํ ได้แก่โรงบูชายัญ. บทว่า ขราชินํ
นิวาเสตฺวา
ได้แก่ นุ่งหนังเสือมีเล็บติด. บทว่า สปฺปิเตเลน ได้แก่ ด้วย

เนยใสและน้ำมัน. เว้นเนยใสนอกนั้นของมียางที่เหลือ ท่านก็เรียกว่า น้ำมัน.
บทว่า กณฺฑุวมาโน ได้แก่ เพราะตัดเล็บหมด คราวจะต้องเกาก็เกาด้วย
เขาสัตว์นั้น.
บทว่า อนตฺถรหิตาย ได้แก่ ไม่มีเครื่องปูลาด. บทว่า สรูป-
วจฺฉาย
ได้แก่ ลูกโคมีสีเหมือนกัน. อธิบายว่า หากแม่โคมีสีขาว แม้ลูกโค
ก็มีสีขาว หากแม่โคมีสีดำแดงหรือสีแดง แม้ลูกโคก็มีสีเช่นนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า แม่โคมีลูกที่มีสีเหมือนกัน. บทว่า โส เอวมาห
คือ พระราชานั้นตรัสอย่างนี้. บทว่า วจฺฉตรา ได้แก่ โคมีกำลัง (โคงาน)
เคยเป็นโคหนุ่มแล้ว แม้ในโคสาวก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า พริหิสตฺถาย
ได้แก่ เพื่อล้อมและเพื่อลาด ณ พื้นที่บูชายัญ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลที่ 4 ตั้งแต่พระพุทธเจ้า
ทรงอุบัติ จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว ตถาคโต ดังนี้. ในบทเหล่านั้น
บทว่า ตถาคโต เป็นต้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว. บทว่า ตํ ธมฺมํ
ได้แก่ธรรมอันสมบูรณ์โดยประการ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น. บทว่า สุณาติ
คหปติวา
ถามว่า เพราะเหตุไรจึงทรงชี้คฤหบดีก่อน. ตอบว่า เพราะคฤหบดี
กำจัดมานะแล้ว และเพราะมีจำนวนมาก จริงอยู่ โดยมากผู้ที่บวชจากตระกูล
กษัตริย์ ทำมานะถือตัวเพราะอาศัยชาติ. ผู้ที่บวชจากตระกูลพราหมณ์ ทำมานะ
เพราะอาศัยมนต์. ผู้ที่บวชจากตระกูลที่มีชาติต่ำ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะ
ค่าที่ตนมีชาติต่ำ. ก็พวกทารกของคหบดี มีเหงื่อไหลจากรักแร้ ขี้เกลือ
เต็มหลัง ไถพื้นที่เป็นผู้หมดมานะและหยิ่ง เพราะไม่มีมานะเช่นนั้น. ทารก
พวกนั้นครั้นบวชแล้วก็ไม่ทำมานะหรือหยิ่ง เรียนพุทธวจนะตามกำลัง บำเพ็ญ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน สามารถดำรงอยู่ในพระอรหัตได้. ส่วนผู้ที่ออกบวชจาก

ตระกูลนอกนี้มีไม่มาก ผู้เป็นคหบดีออกบวชมีมาก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงทรงชี้คหบดีก่อนเพราะจะกำจัดมานะ และเพราะมีจำนวนมาก
แล. บทว่า อญฺญตรสฺมึ วา ได้แก่ ตระกูลนอกนี้ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง.
บทว่า ปจฺฉาชาโต ได้แก่ เกิดในภายหลัง.
บทว่า ตถาคเต สทฺธํ ปฏิลภติ ความว่า เขาได้ฟังธรรมอัน
บริสุทธิ์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตผู้เป็นธรรมสามีเจ้าของธรรมว่า
พระผู้มีพระภาคเข้าพระองค์นั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะหนอ. บทว่า อิติ
ปฏิสญฺจิกฺขติ
แปลว่า พิจารณาอย่างนี้. บทว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส
ความว่า ถึงแม้ว่าคู่สามีภรรยาจะอยู่ในเรือนขนาด 60 ศอก หรือระหว่าง
ร้อยโยชน์ก็ตาม การอยู่ครองเรือนก็ชื่อว่า คับแคบทั้งนั้น เพราะคู่สามีภรรยา
ยังมีความกังวลและความห่วงใย. บทว่า รชาปโถ ท่านกล่าวไว้ในมหา
อรรถกถาว่าเป็นที่เกิดของธุลีมีราคะเป็นต้น . จะกล่าวว่า อาคมนปโถ เป็น
ทางมาดังนี้บ้างก็ควร. ชื่อว่า อัพโภกาส เพราะเป็นดุจที่แจ้งด้วยอรรถว่า
ไม่มีที่เกี่ยวข้อง จริงอยู่ บรรพชิตผู้บวชแล้ว แม้อยู่ในกูฎาคาร รัตนปราสาท
เทพวิมานเป็นต้น ที่มีประตูและหน้าต่างปิดสนิทเป็นที่กำบัง ก็ไม่เกี่ยวไม่ข้อง
ไม่คิด. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า บรรพชาเป็นที่แจ้งดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาส
เป็นที่คับแคบ เพราะไม่มีโอกาสจะทำกุศลความดีได้ตามสบาย. ชื่อว่า เป็นทาง
มาแห่งธุลี เพราะเป็นที่รวมของธุลี คือ กิเลส ดุจกองหยากเยื่อที่ไม่ได้ปิดไว้.
บรรพชาชื่อว่า เป็นที่แจ้ง เพราะมีโอกาสทำกุศลความดีได้ตามสบาย.
ในคำว่า นยิทํ สุกรํ ฯเปฯ ปพฺพเชยฺยํ นี้ กล่าวโดยย่อดังนี้.
พรหมจรรย์คือสิกขา 3 นี้ได้ชื่อว่าบริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะผู้บวชทำไม่ให้
ขาดแม้วันเดียว แล้วก็พึงให้บรรลุจริมกจิตได้. และชื่อว่า บริสุทธิ์ โดย
ส่วนเดียว เพราะผู้บวชทำไม่ให้มีมลทิน ด้วยมลทินคือกิเลสแม้วันเดียว ก็พึง

ให้บรรลุจริมกจิตได้. บทว่า สงฺขลิขิตํ ได้แก่ พึงประพฤติให้เป็นเสมือน
สังข์ขัด คือเทียบด้วยสังข์ที่ขัดแล้ว. อันผู้อยู่ครองเรือนอยู่ท่ามกลางเรือน จะ
ประพฤติพรหมจรรย์คือสิกขา 3 นี้ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ไม่ทำ
ได้ง่ายเลย ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าอันสมควรแก่ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ ชื่อว่าผ้ากาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาด ออกจากเรือนบวชไม่มี
เรือนเกิด. ก็เพราะเหตุที่กสิกรรม พาณิชกรรมเป็นต้น เป็นประโยชน์เกื้อกูล
แก่เรือน ท่านจึงเรียกว่า อคาริยํ ก็ อคาริยกิจนั้นไม่มีในการบรรพชา ฉะนั้น
บรรพชาพึงทราบว่าเป็น อนคาริยะ ไม่มีเรือน ในข้อนี้ ไม่มีเรือนนั้น. บท
ว่า ปพฺพเชยฺยํ ได้แก่ พึงปฏิบัติ.
บทว่า อปฺปํ วา ได้แก่ กองโภคะต่ำกว่าพัน ชื่อว่า น้อย ตั้งแต่พัน
ขึ้นไป ชื่อว่า มาก. ญาตินั่นแล ชื่อว่า ญาติปริวัฏ เครือญาติ เพราะอรรถ
ว่าเกี่ยวพันกัน เครือญาติต่ำกว่า 20 ชื่อว่าน้อย ตั้งแต่ 20 ขึ้นไปชื่อว่ามาก.
บทว่า ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ความว่า สิกขาอันใดอันได้แก่
อธิสีล ของภิกษุทั้งหลาย และภิกษุเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน เป็นอยู่เป็นอันเดียวกัน
มีความประพฤติเสมอกัน ในสิกขาใด บรรพชิตเข้าถึงสิกขานั้น และสาชีพแก่
สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วนั้น เพราะเหตุนั้น บรรพชิต
นั้นชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสิกขาและความอยู่ร่วมกันของภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า สมาปนฺโน ความว่า บรรพชิตบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ และไม่
ละเมิดสาชีพความอยู่ร่วมกัน อธิบายว่า เข้าถึงสิกขาและสาชีพทั้งสองนั้น.
บทว่า ปาณาติปาตํ ปหาย เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวแล้ว
นั้นแล. บทว่า อิเมสํ เภทาย ได้แก่ เพื่อให้ผู้ที่ตนฟังมาข้างนี้ แตกกัน.
บทว่า ภินฺนานํ วา สนฺธาตา ความว่า เมื่อมิตรสองคน หรือผู้ร่วม
อุปัชฌาย์กันแตกกัน ด้วยเหตุไร ๆ บรรพชิตเข้าไปหาแต่ละคน แล้วกล่าวคำ

เป็นต้นว่า นี้ไม่สมควรแก่ท่าน ผู้เกิดในตระกูลเช่นนี้ ผู้คงแก่เรียนอย่างนี้
ดังนี้ ชื่อว่า ทำความสมานกัน. บทว่า อนุปฺปาทาตา ความว่า ส่งเสริม
คนที่สมานกัน อธิบายว่า บรรพชิตเห็นคนสองคนสมัครสมานกัน แล้วกล่าว
คำเป็นต้นว่า นี้สมควรแก่พวกท่าน ผู้เกิดในตระกูลเห็นปานนี้ ผู้ประกอบ
ด้วยคุณเห็นปานนี้ ดังนี้ และทำให้มั่นคงขึ้น. ชื่อว่า สมัคคาราม เพราะ
ว่ามีความสามัคคีเป็นที่มายินดี อธิบายว่า ไม่ปรารถนาแม้แต่จะอยู่ในที่ที่ไม่มี
ความสามัคคีกัน ดังนี้. บาลีว่า สมคฺคราโม ดังนี้ก็มี ความก็อย่างเดียวกันนี้.
บทว่า สมคฺครโต แปลว่า ยินดีแล้วในผู้ที่สามัคคีกัน อธิบายว่า ไม่ปรารถนา
แม้ละผู้ทีสามัคคีเหล่านั้นแล้วไปที่อื่น. ชื่อว่า สมคฺคนนฺที เพราะเห็นก็ดี
ได้ยินก็ดี ซึ่งคนสามัคคีกันก็ชื่นชม. บทว่า สมตฺถกรณี วาจํ ภาสิตา
ความว่า วาจาใดทำให้คนสามัคคีกัน ย่อมกล่าววาจานั้นอันแสดงถึงคุณของ
สามัคคีเท่านั้น ไม่กล่าวนอกเหนือไปจากนี้.
ในบทว่า เนลา โทษท่านเรียกว่า เอละ. ชื่อว่า เนลา เพราะ
ไม่มีโทษ อธิบายว่า หาโทษมิได้. ดุจ เนล ศัพท์ที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า
เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท รถมีเครื่องประกอบไม่มีโทษ หลังคาขาว ดังนี้.
บทว่า กณฺณสุขา ได้แก่ เป็นที่สบายหู เพราะไพเราะด้วยพยัญชนะ ไม่
เกิดเป็นดังหอกที่มหู ดุจแทงด้วยเข็ม. ชื่อว่า ชวนให้รัก เพราะไม่เกิดความ
เคืองในสกลกาย เกิดแต่ความรัก เพราะไพเราะด้วยอรรถ. ชื่อว่า จับใจ เพราะ
จับถึงใจไม่กระทบกระทั่งเข้าไปถึงใจโดยสะดวก. ชื่อว่า โปรี (สุภาพ) เพราะ
เป็นคำชาวเมือง เพราะบริบูรณ์ด้วยคุณ. ชื่อว่า โปรี เพราะละเอียดอ่อน
ดุจนารีผู้เจริญในเมืองดังนี้ก็มี. ชื่อว่า โปรี เพราะเป็นคำของชาวเมืองดังนี้
ก็มี อธิบายว่า คำว่า ปุรสฺส เอสา ได้แก่ คำพูดของชาวเมือง จริงอยู่

ชาวเมืองย่อมกล่าวคำที่สมควร เรียกคนปูนพ่อว่า พ่อ คนปูนพี่ว่า พี่ ดังนี้.
ชื่อว่า พหุชนกนฺตา เพราะคำพูดเห็นปานนี้ เป็นที่รักใคร่ของชนเป็นอัน
มาก. ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะเป็นที่พอใจ คือทำความเจริญจิตของ
ชนเป็นอันมาก โดยเป็นคำน่ารักใคร่.
ชื่อว่า กาลวาที เพราะพูดถูกกาละ อธิบายว่า กำหนดกาลอันควร
พูดแล้วจึงพูด. ชื่อว่า ภูตวาที เพราะพูดแต่เรื่องที่จริงแท้ที่มีอยู่เท่านั้น.
ชื่อว่า อตฺถวาที เพราะพูดอิงประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ในภพหน้า.
ชื่อว่า ธมฺมวาที เพราะพูดอิงนวโลกุตรธรรม. ชื่อว่า วินยวาที เพราะพูด
อิงสังวรวินัยและปหานวินัย. โอกาสเป็นที่ตั้งไว้ ชื่อว่า นิธาน ก็นิธานคือหลัก
ที่ตั้งของวาจานั้นมีอยู่ เหตุนั้น วาจานั้น ชื่อว่า นิธานวตี มีหลักที่ตั้ง อธิบาย
ว่า เป็นผู้กล่าวถ้อยคำควรฝังไว้ในใจ. บทว่า กาเลน ได้แก่ แม้เมื่อกล่าว
วาจาเห็นปานนี้ ก็คิดว่า เราจักกล่าววาจาที่น่าจดจำดังนี้ ไม่กล่าวพร่ำเพรื่อ
อธิบายว่า พิจารณาถึงกาลที่ควรก่อนแล้วจึงกล่าว ดังนี้ . บทว่า สาปเทสํ
ได้แก่ มีข้ออุปมา อธิบายว่า มีเหตุผล. บทว่า ปริยนฺตวตึ ได้แก่ แสดง
หัวข้อ อธิบายว่า กล่าวโดยอาการที่วาจานั้นปรากฏหัวข้อ. บทว่า อตฺถ-
สญฺหิตํ
ได้แก่ มีผู้จำแนกไว้แม้มากนัยก็ไม่อาจกำหนดเอาได้ ชื่อว่า ถึงพร้อม
ด้วยอรรถ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายไว้ว่า ย่อมกล่าววาจาที่ประกอบด้วย
ประโยชน์ เพราะวาจานั้นประกอบด้วยประโยชน์ ที่ผู้กล่าวอาศัยประโยชน์
มุ่งกล่าว หาใช่ยกเรื่องหนึ่งขึ้นแล้วกล่าวเรื่องอื่นเสียใหม่.
บทว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ความว่า เป็นผู้เว้นจากกำจัด
คือ การทำลายโดยการตัดและการเผาซึ่งพีชคาม 5 อย่าง คือ พืชเกิดแต่ราก 1
พืชเกิดแต่ลำต้น 1 พืชเกิดแต่ข้อ 1 พืชเกิดแต่ยอด 1 พืชเกิดแต่เมล็ด 1
และซึ่งพืชคามมีหญ้าสีเขียว และต้นไม้เป็นต้น.

บทว่า เอกภตฺติโก ได้แก่ ภัตร (อาหาร) 2 อย่าง คือ ภัตรใน
เวลาเช้า 1 ภัตรในเวลาเย็น 1 ในภัตร 2 อย่างนั้น ภัตรในเวลาเช้ากำหนด
ไว้ภายในเที่ยง ภัตรในเวลาเย็นกำหนดไว้หลังเที่ยงวันไป เพราะฉะนั้น
แม้จะบริโภคสัก 10 ครั้ง ภายในเที่ยง ก็ชื่อว่า เป็นเอกภัตติกะ (บริโภค
มื้อเดียว) ท่านหมายถึง เอกภัตติกะนั้นจึงกล่าวว่า เอกภตฺติโก ดังนี้.
การบริโภคในกลางคืน ชื่อว่า รตฺติ ชื่อว่า รตฺตูปรตฺโต เพราะเว้นจากการ
บริโภคในกลางคืน. เมื่อเลยเที่ยงไปแล้วบริโภคจนถึงพระอาทิตย์ตก ชื่อว่า
บริโภคผิดเวลา เพราะเว้นจากบริโภคผิดเวลานั้นชื่อว่า วิรโต วิกาลโภชนา
งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล.
บทว่า ชาตรูปํ ได้แก่ ทอง. บทว่า รชตํ ได้แก่เงินที่ชาวโลก
เขาเรียกกันว่า กหาปณะ โลหมาสก ชตุมาสก (มาสกยางไม้) ทารมาสก
(มาสกไม้) เว้นจากการรับ ทองและเงิน แม้ทั้งสองนั้น อธิบายว่า ไม่รับ
เอง ไม่ให้ผู้อื่นรับ ไม่ยินดี ของที่เขาเก็บไว้.
บทว่า อามกธญฺญปฏิคฺคหณา ได้แก่เว้น จากการรับข้าวดิบ 7 อย่าง
กล่าวคือ ข้าวสาลี 1 ข้าวเปลือกจ้าว 1 ข้าวเหนียว 1 ข้าวละมาน 1 ข้าว
ฟ่าง 1 ข้าวลูกเดือย 1 หญ้ากับแก้ 1. ไม่ใช่แต่รับข้าวเหล่านั้นอย่างเดียว
เท่านั้นไม่ควร แม้ลูบคลำก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายโดยแท้. ในบทว่า อามกมํส
ปฏิคฺคหณา นี้ การรับเนื้อและปลาสดก็ไม่ควรลูบคลำก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย
เว้นแต่ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้โดยเฉพาะ.
ในบทว่า อิตฺถีกุมาริกา ปฏคฺคหณา นี้ หญิงที่อยู่กับชาย ชื่อว่า
อิตถี(นาง) หญิงนอกนั้นชื่อว่า กุมาริกา (นางสาว) การรับก็ดี การลูบคลำก็ดี
ซึ่งหญิงเหล่านั้น เป็นอกัปปิยยะ (ไม่ควร). ในบทว่า ทาสีทาสปฏิคฺคหณา นี้

การรับคนเป็นทาสหญิง ทาสชาย ไม่ควร ก็แต่ว่าเมื่อยู่อย่างนี้ว่า เราถวาย
เป็นกัปปิยการก เราถวายเป็นคนวัด ดังนี้ ก็ควร.
แม้ในแพะและแกะเป็นต้น มีนาและสวนเป็นที่สุด ควรตรวจสอบ
ที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะโดยทางวินัย. ในข้อนั้น ปุบพัณณชาติ (ข้าว)
งอกขึ้นในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา อปรพัณณชาติ (ถั่วงา) งอกขึ้นในที่ใด
ที่นั้นชื่อว่า สวน. อีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่าง งอกขึ้นในที่ใดที่นั้นชื่อว่า นา.
พื้นที่ที่ยังมิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่นานั้น ชื่อว่า ที่สวน. แม้บึงและหนอง
เป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้ ด้วยหัวข้อว่าพาและสวน.
บทว่า กยวิกฺกยา ได้แก่ การซื้อและการขาย ทูตกรรมการทำ
เป็นทูต ได้แก่ การรับหนังสือ หรือข่าวของพวกคฤหัสถ์แล้วไปในที่นั้น ๆ
ท่านเรียกว่า ทูเตยยะ (ความเป็นทูต) การที่ภิกษุถกคฤหัสถ์ส่งจากเรือนหลัง
หนึ่งสู่เรือนหลังหนึ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านเรียกว่า ปหิณคมนะ (รับใช้). ทำทั้ง
สองอย่างนั้นชื่อว่า อนุโยคะ (ประกอบเนืองๆ) เพราะฉะนั้น พึงทราบความ
ในบทนี้อย่างนี้ว่า เว้นจากประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเป็นทูตและรับ ใช้คฤหัสถ์.
พึงทราบวินิจฉัยการโกงตาชั่งเป็นต้น การหลอกลวง ชื่อว่า โกง.
ในการโกงนั้น การโกงตาชั่งมี 4 อย่าง คือ โกงด้วยฟู 1 โกงด้วยอวัยวะ
1 โกงด้วยการจับ 1 โกงด้วยการกำบัง 1. ในการโกง 4 อย่างนั้น เขาทำ
ตาชั่งสองอันมีรูปเท่า ๆ กัน เมื่อรับก็รับด้วยตาซึ่งอันใหญ่ เมื่อให้ก็ให้ด้วย
ตาชั่งอันเล็ก ชื่อว่า โกงด้วยรูป. เมื่อรับก็ใช้มือกดตาชั่งข้างหลังไว้ เมื่อให้
ก็ใช้มือกดคาชั่งข้างหน้าไว้ ชื่อว่าโกงด้วยอวัยวะ. เมื่อรับก็จับเชือกไว้ที่โคน
ตาชั่ง เมื่อให้ก็จับเชือกไว้ที่ปลายตาชั่ง ชื่อว่าโกงด้วยการจับ. ทำตราชั่ง
ให้กลวง ใส่ผงเหล็กไว้ภายใน เมื่อรับก็เลื่อนผงเหล็กนั้นไปปลายตาชั่ง เมื่อให้
ก็เลื่อนผงเล็กนั้นไว้หัวตาชั่ง ชื่อว่าโกงด้วยการกำบัง ถาดทองท่านเรียกว่า

กังสะ การหลอกลวงด้วยถาดทองนั้น ชื่อว่า กังสกูฏะ โกงด้วยสำริด. ถาม
ว่าโกงอย่างไร. ตอบว่า ทำถาดทองไว้ใบหนึ่ง แล้วทำถาดโลหะอื่น 2-3 ใบ
ให้มีสีเหมือนทอง จากนั้นเขาก็ไปสู่ชนบท เข้าไปสู่ตระกูลที่มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง
แล้วพูดว่า ท่านได้โปรดซื้อภาชนะทองเถิด เมื่อถามถึงราคา ประสงค์จะ
ให้ราคาเท่า ๆ กัน เมื่อผู้ซื้อถามว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าถาดเหล่านี้เป็นทอง
ผู้หลอกลวงกล่าวว่าทดลองแล้วค่อยรับไป แล้วขูดถาดทองลงที่หิน ขายถาด
ทั้งหมดแล้วก็ไป.
การโกงด้วยเครื่องวัดมี 3 อย่างคือ หทยเภท ทำลายด้วยรู 1 สิขาเภท
ทำลายยอด 1 รัชชุเภท ทำลายด้วยเชือก 1. ใน 3 อย่างนั้น หทยเภทได้ใน
เวลาตวงเนยใสและน้ำมันเป็นต้น ด้วยว่า เมื่อรับของเหล่านั้น ใช้เครื่องวัด
อันมีรูข้างล่าง บอกว่าให้ค่อย ๆ เท แล้วให้ไหลลงในภาชนะของตนมาก ๆ
แล้วรับเอาไป เมื่อให้ก็ปิดรูรับทำให้เต็มแล้วให้. สิขาเภทได้ในเวลาตวงงาและ
ข้าวสารเป็นต้น ด้วยว่าเมื่อรับของเหล่านั้นค่อย ๆ ทำยอดให้สูง รับเอาไป
เมื่อให้รีบทำให้เต็มแล้วปาดยอดเสียจึงให้. รัชชุเภทได้ในเวลาวัดนาและที่ดิน
เป็นต้น ด้วยว่าเมื่อไม่ได้สินบน แม้นาไม่ใหญ่ ก็วัดให้ใหญ่ได้. พึงทราบ
วินิจฉัยในการฉ้อโกงเป็นต้น บทว่า ฉ้อโกง ได้แก่ รับสินบนเพื่อทำเจ้าของ
ไม่ให้เป็นเจ้าของ. บทว่า วญฺจนํ ได้แก่การหลอกลวงผู้อื่นด้วยอุบายนั้น ๆ.
ในบททั้งสองนั้นมีเรื่องหนึ่งเป็นตัวอย่างดังนี้
ได้ยินว่า พรานคนหนึ่ง จันเนื้อและลูกเนื้อเดินมา. นักเลงคนหนึ่ง
พูดกะพรานนั้นว่า พ่อพราน เนื้อราคาเท่าไร ลูกเนื้อราคาเท่าไร. เมื่อพราน
บอกว่า พ่อเนื้อสองกหาปณะ ลูกเนื้อหนึ่งกหาปณะ. นักเลงจึงให้กหาปณะ
หนึ่งแล้วเอาลูกเนื้อไป ครั้นไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับมาอีก พูดว่า พ่อพราน
เราไม่ต้องการลูกเนื้อ จงให้พ่อเนื้อแก่เรา. พรานพูดว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง

ให้เราสองกหาปณะ. นักเลงนั้น พูดว่า พ่อพราน. เราให้ไปหนึ่งกหาปณะ
ก่อนแล้วมิใช่หรือ. พรานบอกว่า จริงท่านให้หนึ่งกหาปณะแล้ว. นักเลงพูดว่า
นั่นกหาปณะหนึ่ง และลูกเนื้อนี้ก็มีราคาหนึ่งกหาปณะ เพราะฉะนั้นจึงรวมเป็น
สองกหาปณะ. พรานเข้าใจว่า นักเลงพูดด้วยเหตุผล จึงรับลูกเนื้อคืนมา
แล้วให้เนื้อไป.
บทว่า นิกติ ได้แก่หลอกลวงด้วยของเทียม คือ ทำสิ่งที่มิใช่สังวาล
ให้เป็นสังวาล ทำสิ่งที่มิใช่แก้วมณี ให้เป็นแก้วมณี ทำสิ่งที่มิใช่ทอง ให้เป็น
ทอง โดยประกอบขึ้นหรือด้วยกลลวง. บทว่า สาวิโยโค ได้แก่ วิธีโกง
คำนี้เป็นชื่อของการฉ้อโกงเป็นต้นเหล่านั้นแล. เพราะฉะนั้น พึงทราบความ
ในบทนี้อย่างนี้ว่า วิธีโกงด้วยการฉ้อโกง การหลอกลวง วิธีโกงด้วยการทำ
ของเทียม ดังนี้ . อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การแสดงของอย่างหนึ่งแล้วเปลี่ยน
เป็นของอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิธีโกง. ก็บทนั้นสงเคราะห์ด้วยการหลอกลวง
นั้นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยในการตัดเป็นต้น. บทว่า เฉทนํ ได้แก่ การตัดมือ
เป็นต้น . บทว่า วโธ ได้แก่ ทำให้ตาย. บทว่า พนฺโธ ได้แก่มัดด้วยเครื่อง
มัดคือเชือกเป็นต้น. บทว่า วิปราโมโส ได้แก่ การตีชิง สองอย่าง คือ
หิมวิปราโมสะ บังหิมะตีชิง 1 คุมพวิปราโมสะ บังพุ่มไม้ตีชิง 1 ในคราว
หิมะตก โจรทั้งหลายเอาหิมะกำบังตีชิงชนเดินทาง ชื่อว่า หิมวิปราโมสะ โจร
ทั้งหลายเอาพุ่มไม้เป็นต้นกำบังแล้วตีชิง ชื่อคุมพวิปราโมสะ วิธีโกงด้วยการปล้น
ชาวบ้านและชาวนิคมเป็นต้น ท่านเรียกว่า อาโลปะ (ปล้น ). บทว่า สหสา-
กาโร
ได้แก่การทำอย่างรุนแรง. คือ การเข้าไปเรือนเอาศัสตราจ่ออกของ
พวกมนุษย์แล้วเก็บของที่คนต้องการ. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาด
จากการทำรุนแรง คือ ฟันแทง ฆ่า มัด ตีชิง ปล้น ด้วยประการฉะนี้แล

บทว่า โส สนฺตุฏฺโฐ โหติ ได้แก่ ภิกษุนี้นั้นเป็นผู้ประกอบ
ด้วยความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ 12 อย่างในปัจจัย 4 ที่กล่าวไว้แล้ว
ในหนหลัง. บริขาร 8 คือ ไตรจีวร บาตร มีดเหลาไม้สีฟัน เข็ม 1 เล่ม
รัดประคต เครื่องกรองน้ำ ย่อมสมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยสันโดษความ
ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ 12 อย่างนี้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ ว่า
ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสิ สูจิ จ พนฺธนํ
ปริสฺสาวเนน อฏฺเฐเต ยุตฺตโยคสฺส ภิกฺขุโน.
บริขาร 8 เหล่านี้ คือ ไตรจีวร
บาตร มีด เข็ม รัดประคต เครื่องกรองน้ำ
สำหรับภิกษุผู้ประกอบความเพียร.

บริขารเหล่านั้นทั้งหมด เป็นเครื่องบริหารกายบ้าง บริหารท้องบ้าง.
ถามว่า บริหารอย่างไร. ตอบว่า ก่อนอื่นไตรจีวรย่อมบริหารรักษากายใน
เวลาภิกษุนั่งและห่มแล้วจาริกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นเครื่องบริหารกาย.
ไตรจีวรย่อมบริหารหล่อเลี้ยงต้องในเวลาเอาชายจีวรกรองน้ำดื่ม และในเวลา
ห่อของควรเคี้ยวและผลไม้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นเครื่องบริหารท้อง. แม้บาตร
ก็เป็นเครื่องบริหารกาย ในเวลาเอาบาตรนั้นตักน้ำอาบ และในเวลาทำความ
สะอาดกุฎิ เป็นเครื่องบริหารต้องในเวลารับอาหารบริโภค. แม้มีดก็เป็น
เครื่องบริหารกายในเวลาเอามีดนั้นเหลาไม้สีฟัน และในเวลาตกแต่งส่วนแห่ง
เท้าของเตียงและตั่ง และคันกลด เป็นเครื่องบริหารท้องในเวลาควั่นอ้อย และ
ปอกมะพร้าวเป็นต้น. เข็มเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเย็บจีวร เป็นเครื่อง
บริหารท้องในเวลาจิ้มขนมหรือผลไม้เคี้ยวกิน. รัดประคตเป็นเครื่องบริหาร
กายในเวลารัดกายเที่ยวไป เป็นเครื่องบริหารท้องในเวลามัดอ้อยเป็นต้น
แล้วหิ้วไป. เครื่องกรองน้ำ เป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเอาเครื่องกรองน้ำ

นั้นกรองน้ำอาบ และในเวลาทำความสะอาดเสนาสนะ เป็นเครื่องบริหารท้อง
ในเวลากรองน้ำดื่ม และในเวลาเถือเอางา ข้าวสาร และข้าวเม่าเป็นต้น ด้วย
เครื่องกรองน้ำนั้นเคี้ยวกิน. นี้เป็นเพียงบริขารของภิกษุผู้มีบริขาร 8 เท่านั้น.
แต่สำหรับภิกษุผู้มีบริขาร 9 ผู้เข้าไปยังที่นอน เครื่องลาดอันตั้งอยู่บนที่นอน
นั้นหรือกุญแจ ย่อมควร. สำหรับภิกษุผู้มีบริขาร 10 ที่นั่งหรือแผ่นหนัง
ย่อมควร. สำหรับภิกษุผู้มีบริขาร 11 ไม้เท้า หรือขวดน้ำมัน ย่อมควร.
สำหรับ ภิกษุผู้มีบริขาร 12 ร่ม หรือรองเท้า ย่อมควร. บรรดาภิกษุผู้มีบริขาร
เหล่านี้ ภิกษุผู้มีบริขาร 8 เท่านั้นเป็นผู้สันโดษ. ไม่ควรว่า ภิกษุนอกนั้นว่า
เป็นผู้ไม่สันโดษ เป็นผู้มักมากอยากใหญ่. แม้ภิกษุเหล่านี้ ก็เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ เลี้ยงง่าย มีความประพฤติเบา. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส
พระสูตรนี้ โดยหมายเอาภิกษุเหล่านั้น. ตรัสโดยหมายเอาภิกษุผู้มีบริขาร 8.
จริงอยู่ ภิกษุผู้มีบริขาร 8 นั้น ใส่มีดเล็กและเข็มลงในหม้อกรองน้ำแล้ววาง
ไว้ในบาตร คล้องบาตรที่บ่า กระทำจีวรให้กระชับกาย หลีกไปหาความสุข
ตามปรารถนา. ชื่อว่า ภิกษุนั้นจะกลับมาถือเอาอะไรอีกเป็นไม่มี ดังนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีความประพฤติเบา จึง
ตรัสว่า สนฺตุฏฺโฐ โหติ กายปริหารเกน จีวเรน ภิกษุเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกายเป็นต้น .
ในบทเหล่านั้น บทว่า กายปริหาริเกน ได้แก่ เป็นเพียงเครื่อง
บริหารกาย. บทว่า กุจฺฉิปริหาริเกน ได้แก่ เป็นเพียงเครื่องบริหารท้อง.
บทว่า สมาทาเยว ปกฺกมติ ความว่า ภิกษุถือเอาบริขารนั้นทั้งหมดเพียง
8 อย่าง ติดไปกับกาย. ภิกษุนั้นมิได้มีความเกี่ยวข้องผูกพันว่า วิหารของเรา
บริเวณของเรา อุปฐากของเรา ดังนี้ . ภิกษุนั้น ใช้สอยเสนาสนะ ไพรสณฑ์
โคนไม้ ป่า เงื้อมภูเขา ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ ดุจลูกศรพ้นจากสายธนู ดุจ

ช้างซับมันหลีกออกจากโขลง ฉะนั้น ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว รูปเดียวทุก
อิริยาบถไม่มีเพื่อน ถึงความเป็นดุจนอแรด ที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้
เที่ยวไปทั้ง 4 ทิศ ไม่กระทบกระทั่ง
อดทนต่ออันตราย ไม่หวั่นสะดุ้ง เที่ยวไป
ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสาธกเนื้อความนั้น ด้วยข้ออุปมา
จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺขี สกุโณ
ได้แก่ นกมีปีก. บทว่า เฑติ แปลว่า บินไป. ความย่อในเรื่องนี้มีดังนี้
ธรรมดานกทั้งหลาย รู้ว่าถิ่นโน้นมีต้นไม้ มีผลสุก จึงพากันมาจากทิศต่าง ๆ
เอาเล็บ ปีก และจะงอยปากเป็นต้น แทง จิก กิน ผลไม้ของต้นไม้นั้น
นกเหล่านั้นมิได้คิดว่า ผลไม้นี้สำหรับวันนี้ ผลนี้สำหรับพรุ่งนี้ ก็เมื่อผลไม้
หมด นกทั้งหลายมิได้วางการป้องกันรักษาต้นไม้ มิได้วางปีก ขน เล็บ หรือ
จะงอยปากไว้ที่ต้นไม้นั้น ไม่ห่วงใยต้นไม้นั้น ปรารถนาจะไปทิศใด ก็มีภาระ
คือปีกเท่านั้น บินไปทางทิศนั้น ภิกษุนี้ก็เหมือนกัน หมดความข้อง หมด
ความห่วงใย หลีกไป คือ ถือเอาเพียงบริวาร 8 แล้วก็หลีกไป.
บทว่า อริเยน ได้แก่ ไม่มีโทษ. บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ใน
อัตภาพของตน. บทว่า อนวชฺชสุขํ ได้แก่ ความสุขอันไม่มีโทษ. บทว่า
โส จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา ความว่า ภิกษุนั้นผู้ประกอบแล้วด้วยสีลขันธ์อันเป็น
อริยะนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. แม้ในบทที่เหลือคำที่ควรกล่าว ก็ได้
กล่าวไว้หมดแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า อพฺยาเสกสุขํ ได้แก่ ความสุข
ที่ไม่ชุ่มด้วยกิเลส. ท่านกล่าวว่า อวิกิณฺณสุขํ ดังนี้บ้าง. ด้วยว่า สุขเกิดจาก

อินทรีสังวร ชื่อว่า เป็นความสุขที่ไม่วุ่นวาย เพราะเป็นไปเพียงสักว่าเห็น
เป็นต้น ในอารมณ์มีรูปที่ตนเห็นเป็นอาทิเท่านั้น.
บทว่า โส อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ความว่า ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยความสำรวมอินทรีย์ อันมีใจเป็นที่หก ย่อมเป็นผู้ทำความรู้ตัวด้วยสติ-
สัมปชัญญะในฐานะ 7 มีก้าวไป และถอยกลับเป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า
อภิกฺกนฺตํ ได้แก่ เดินไปข้างหน้า. บทว่า ปฏิกฺกนฺตํ ได้แก่ ถอยกลับ
บทว่า สมฺปชานการี โหติ ความว่า ภิกษุเข้าไปตั้งสติไว้ด้วยสามารถ
สัมปชัญญะ อันสัมปยุตด้วยสติ 4 เหล่านี้ คือ สาตถกสัมปชัญญะ (ความ
รู้ตัวในกิจที่เป็นประโยชน์แก่ตน) สัปปายสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวในปัจจัย
ที่สบาย) โคจรสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวในธรรมเป็นโคจร) อสัมโมห-
สัมปชัญญะ
(ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย) แล้วกำหนดด้วยญาณ กระทำ
การก้าวไปและถอยกลับเหล่านั้น แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็น
ความย่อในที่นี้ ส่วนความพิสดารผู้ปรารถนาพึงดูได้จากอรรถกถาสามัญญผล-
สูตรในทีฆนิกาย หรือจากอรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรด้วยบทเป็นอาทิว่า โส
อิมินา จ
ดังนี้. ตอบว่า ทรงแสดงถึงปัจจัยสมบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า. ด้วยว่า
ปัจจัย 4 เหล่านี้ ไม่มีแก่ภิกษุใด การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมไม่สำเร็จ ภิกษุ
นั้นน่าจะต้องถูกกล่าวด้วยสัตว์เดียรัจฉาน หรือพวกพราน. เทวดาที่สิงอยู่ในป่า
จะพากันส่งเสียงอันน่ากลัวว่า ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุลามก
เห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วเขกศีรษะไล่ให้หนีไป. ความไม่มีเกียรติยศก็จะแพร่
ออกไปว่า ภิกษุรูปโน้นเข้าไปป่า ได้กระทำกรรมอันลามกอย่างนี้ ๆ.
ก็ปัจจัย 4 เหล่านี้มีอยู่แก่ภิกษุใด การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมสำเร็จ.
ด้วยว่าภิกษุนั้นพิจารณาศีลของคนเมื่อไม่เห็นจุดดำ หรือตกกระไร ๆ เกิดปีติ

เมื่อเห็นปีตินั้นโดยความสิ้น โดยความเสื่อม ย่อมหยั่งลงสู่อริยภูมิ. เหล่าเทวดา
ที่สิงอยู่ในป่ามีใจเป็นของตนก็พากันสรรเสริญ เกียรติยศของภิกษุนั้น ย่อม
แพร่ออกไปดุจหยาดน้ำมันที่เขาใส่ลงในน้ำ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ป่ามีเสียงน้อย. อธิบายว่า มีเสียงอึกทึกน้อย.
ในวิภังค์หมายถึง เสียงอึกทึกน้อยนั้น จึงกล่าวไว้ว่า บทว่า วิวิตฺตํ ความว่า
แม้หากว่าเสนาสนะอยู่ใกล้กัน แต่เสนาสนะนั้นไม่วุ่นวายด้วยคฤหัสถ์บรรพชิต
ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้นจึงชื่อว่าสงัด. ชื่อเสนาสนะเพราะเป็นที่นอนและ
ที่นั่ง. คำนี้เป็นชื่อของเตียงและตั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า
เสนาสนํ ได้แก่ เตียงบ้าง ที่นอนที่นั่งบ้าง ตั่งบ้าง ฟูกบ้าง หมอนบ้าง
วิหารบ้าง เรือนมุงด้านเดียวบ้าง ปราสาทบ้าง ปราสาทโล้นบ้าง ถ้าบ้าง
ป้อมบ้าง เรือนยอดบ้าง ปราสาทบ้าง ปราสาทโล้นบ้าง ถ้ำบ้าง
ก็หรือว่าภิกษุทั้งหลายหลีกออกไปในที่ใด ที่ทั้งหมดนั้นชื่อว่า เสนาสนะ. อีก
อย่างหนึ่ง เสนาสนะนี้คือ วิหาร เรือนมุงด้านเดียว ปราสาท ปราสาทโล้น ถ้ำ
ชื่อเสนาสนะคือวิหาร. เสนาสนะนี้คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ชื่อว่าเสนาสนะ
คือเตียงตั่ง. เสนาสนะนี้ คือ แผ่นหนังทำปลอกหมอน เครื่องลาดด้วยหญ้า
เครื่องลาดด้วยใบไม้ ชื่อว่า เสนาสนะคือสันถัต . บทว่า ยตฺถ วา ปน ภิกฺขู
ปฏิกฺกมนฺติ
ก็หรือว่า ภิกษุทั้งหลายหลีกออกไปในที่ใด นี้ ชื่อว่า เสนาสนะ
คือโอกาส เสนาสนะมี 4 อย่าง ด้วยประการฉะนี้. แม้เสนาสนะนั้น ท่าน
ใช้ศัพท์ว่า เสนาสนะเหมือนกันหมด.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงเสนาสนะอันสมควรแก่ภิกษุ
ผู้จาริกไปในทิศทั้ง 4 เช่นกับนกนี้ จึงตรัส ว่า อรญฺญํ รุกฺขมูลํ เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญํ ได้แก่ ที่ๆ ออกไปภายนอกเสาเขื่อนทั้งหมด.
บทว่า อรญฺญํ นี้จัดว่าป่าที่มาเพราะอำนาจภิกษุณี. (บทบัญญัติของภิกษุณี

ห้ามไม่ให้อยู่ป่า) ชื่อว่าเสนาสนะป่า ได้แก่ เสนาสนะที่กำหนดไว้ ชั่ว 500
ลูกธนู. เพราะฉะนั้น เสนาสนะนี้จึงสมควรแก่ภิกษุนี้. ลักษณะของเสนาสนะ
นั้น กล่าวไว้แล้วในธุตังคนิเทศคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า รุกฺขมูลํ ได้แก่ โคนไม้ที่สงัดมีเงาทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง
บทว่า ปพฺพตํ ได้แก่ ภูเขาศิลา. จริงอยู่ในที่นั้น ภิกษุอาบน้ำที่แอ่งน้ำ
แล้วนั่งใต้เงาไม้อันเย็นเมื่อทิศต่าง ๆ ปรากฏอยู่ ถูกลมเย็นโชยมา จิตก็มี
อารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า กนฺทรํ ความว่า น้ำ ท่านเรียกว่า กํ เอกเทศ
แห่งภูเขาที่ถูกน้ำเซาะพังเพราะน้ำ ที่เขาเรียกว่านิตัมพะไหล่เขาบ้าง นทีกุญชะ
ท้องเขาบ้าง. ก็ในที่นั้นมีทรายสีคล้ายแผ่นเงิน. น้ำคล้ายก้อนแก้วมณีไหลไป
เบื้องบนป่าชัฏ เหมือนเพดานแก้วมณี ภิกษุลงไปสู่แอ่งน้ำ เห็นปานนี้ ดื่มน้ำ
เอาน้ำลูบตัวให้เย็น พูนทรายขึ้นแล้วปูผ้าบังสุกุลจีวร นั่งบำเพ็ญสมณธรรม
จิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า คิริคุหํ ได้แก่ ระหว่างภูเขาสองลูก หรือ
ช่องใหญ่คล้ายอุโมงค์ในภูเขาลูกหนึ่ง ลักษณะป่าช้า กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค. บทว่า วนปตฺถํ ได้แก่ ที่อันเลยอุปจาระของพวกมนุษย์ ซึ่ง
เขาไม่ไถ ไม่หว่าน. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า คำว่า
วนปตฺถํ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ไกล. บทว่า อพฺโภกาสํ ได้แก่
ที่ไม่ได้มุงบังไว้. ก็ภิกษุเมื่อหวังก็ทำกลดในที่นี้แล้วอยู่ได้. บทว่า ปลาลปุญฺชํ
ได้แก่ ลอมฟาง. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายชักฟางมาจากลอมฟางใหญ่แล้วทำให้
เป็นที่อยู่คล้ายที่เร้นในเงื้อมเขา ใส่ฟางไว้ข้างบนกอไม้ พุ่มไม้เป็นต้น แล้ว
นั่งภายใต้บำเพ็ญสมณธรรม. ท่านกล่าวคำนี้หมายถึงลอมฟางนั้น.
บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ได้แก่ ภายหลังภัตร (อาหาร). บทว่า
ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต ได้แก่ กลับจากการแสวงหาบิณฑบาต. บทว่า
ปลฺลงฺกํ ได้แก่ นั่งขดขาโดยรอบ (นั่งขัดสมาธิ). บทว่า อาภุชิตฺวา

ได้แก่ ขด. บทว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย ได้แก่ ตั้งสรีระเบื้องบนให้ตรง
ให้ปลายกับปลายกระดูกสันหลัง 18 ข้อจดเรียงกัน เมื่อนั่งอย่างนี้หนังเนื้อ
และเอ็นก็ไม่ค้อม เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาเหล่าใดอันมีความค้อมเป็นปัจจัย
จึงเกิดขึ้นทุกขณะแก่ภิกษุเหล่านั้น เวทนานั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อเวทนา
เหล่านั้นไม่เกิด จิตก็ย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานก็ไม่ตก มีแต่เจริญ
งอกงาม.
บทว่า ปริมุขํ สติ อุปฏฐเปตฺวา ความว่า ตั้งสติอันมีหน้าเฉพาะ
ต่อกรรมฐาน หรือกระทำไว้ใกล้หน้า. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวไว้ใน
วิภังค์ว่า สตินี้เป็นอันเข้าไปทั้งไว้แล้ว เข้าไปตั้งไว้แล้วด้วยดี ที่ปลายจมูกหรือ
ที่มุขนิมิตใกล้หน้า ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฐเปตฺวา
(เข้าไปจั้งสติไว้เฉพาะหน้า) ดังนี้. อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ ปริ มีอรรถว่า กำหนด.
ศัพท์ว่า มุขํ มีอรรถว่า นำออกไป. บทว่า สติ มีอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้.
ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปริมุขํ สตึ ดังนี้ พึงทราบความในบทนี้โดย
นัยที่กล่าวไว้แล้วในปฏิสัมภิทา ด้วยประการฉะนี้. ความย่อในปฏิสัมภิทานั้นว่า
การทำสติอันกำหนดไว้และนำออกไป.
ในบทว่า อภิชฺฌํ โลเก นี้ อุปาทานขันธ์ 5 ชื่อว่าโลก เพราะ
อรรถว่าชำรุดทรุดโทรมไป. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า
ละราคะ ข่มกามฉันทะในอุปาทานขันธ์ 5 ดังนี้ . บทว่า วิคตาภิชฺเฌน
ความว่า มีใจ ชื่อว่าปราศจากอภิชฌา เพราะละได้ด้วยการข่มไว้มิใช่มีใจ
เช่นกับจักขุวิญญาณ. บทว่า อภิชฺฌาย จิตฺตํ ปริโสเธติ ได้แก่ ชำระ
จิตให้หมดจดจากอภิชฌา. อธิบายว่า ภิกษุกระทำโดยประการทำอภิชฌาปล่อย
จิตนั้นแล้วจะไม่กลับมาเกาะจิตอีก. แม้ในบทว่า พฺยาปาทปฺปโทสํ ปหาย
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . ชื่อว่า พยาบาทเพราะเบียดเบียน คือจิต ต้องละ

ปกติที่เคยมีมาในก่อนด้วยพยาบาทนี้ดุจขนมบูดเป็นต้น . ชื่อโทสะ เพราะย่อม
ประทุษร้ายเอง หรือให้ผู้อื่นประทุษร้าย คือให้พินาศโดยให้ถึงความพิการ.
ทั้งสองนี้เป็นชื่อของความโกรธนั้นแล.
ความป่วยทางจิต ชื่อว่า ถีนะ ความป่วยทางเจตสิกชื่อว่า มิทธะ
ถีนะความง่วงเหงาและมิทธะความหาวนอน ชื่อว่า ถีนมิทธะ. บทว่า
อาโลกสญฺญี ความว่า ภิกษุประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์
สามารถจำหมายแสงสว่างที่เห็นทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน . บทว่า สโต สมฺป-
ชาโน
ได้แก่ ประกอบด้วยสติและญาณ. ท่านกล่าวไว้ทั้งสองนี้ก็เพราะเป็น
ธรรมอุปการะแก่อาโลกสัญญา. ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญ ชื่อว่า
อุทธัจจกุกกุจจะ.
บทว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ ได้แก่ ข้าม คือล่วงวิจิกิจฉาได้. ชื่อว่า
อกถํกถี (ไม่มีความสงสัย) เพราะไม่มีความสำคัญ หมายว่านี้อย่างไร. บทว่า
กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมอันไม่มีโทษ. อธิบายว่า ไม่สงสัย คือ
ไม่แคลงใจอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลอย่างไร.
นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ก็ในนิวรณ์เหล่านี้ คำที่ควรกล่าวโดยต่างแห่ง
ถ้อยคำ ความ และลักษณะเป็นต้น ก็กล่าวไว้หมดแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ ความว่า เพราะเหตุที่นิวรณ์ 5
เหล่านี้เมื่อเกิด ย่อมไม่ให้เกิดปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น
แม้เกิดขึ้นแล้วก็กำจัดสมาบัติ 8 หรืออภิญญา 5ํ ให้ตกไป ฉะนั้น จึงตรัสว่า
ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณา (ทำปัญญาให้หมกกำลัง) ดังนี้. บททั้งหลายมี
อาทิว่า วิวิจฺเจว กเมหิ กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทเป็นต้นว่า อิเม อาสวา ตรัสเพื่อประกาศสัจจะสี่โดยปริยาย
อื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่ลัทธิภายนอกไม่มีผล ด้วยองค์ 3

ในภายหลังแล้ว ทรงประกาศความที่คำสอนของพระองค์ลึกซึ้งด้วยองค์ที่ 4
ทรงจบเทศนาด้วยอดธรรมคือพระอรหัต ด้วยบทเพียงเท่านี้ว่า นาปรํ
อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ
ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงกระชับพระเทศนาให้
หนักแน่น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ดังนี้
จบอรรถกถาอัตตันตปสูตรที่ 8

9. ตัณหาสูตร


ว่าด้วยตัณหาเป็นดังข่าย


[199] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยว
ไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์
โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้าปล้อง
ไม่ไห้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้ เธอทั้งหลายจงพึง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป
แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้
ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย
และหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้นั้น
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาวิจริต 18 ประการนี้ อาศัยขันธบัญจก
ภายใน ตัณหาวิจริต 18 ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายนอก ตัณหาวิจริต
18 ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายในเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมี
ความถือว่า เรามี ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น