เมนู

อรรถกถาสาตถสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสาตถสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทฺวเยน คือ เพราะส่วนสอง. บทว่า โอฆสฺส นิตฺถรณํ
ได้แก่ การรื้อถอนโอฆะ 4. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุ
เกลียดบาปด้วยตบะ กล่าวคือการทำทุกรกิริยา. บทว่า อญฺญตรํ สามญฺญงฺคํ
ได้แก่ ส่วนแห่งสมณธรรมอย่างหนึ่ง. ในบทมีอาทิว่า อปริสุทฺธกายสมา-
จารา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงศีล ความประพฤติทางกาย วาจา และ
ใจไม่บริสุทธิ์ ด้วยสามบทนี้ แล้วจึงทรงแสดงถึงความเป็นผู้มีอาชีวะไม่
บริสุทธิ์ด้วยบทหลัง. บทว่า ญาณทสฺสนาย ได้แก่ ทัสสนะอันได้แก่
มรรคญาณ. บทว่า อนุตฺตราย สมฺโพธาย ได้แก่พระอรหัต. ท่านอธิบาย
ว่า ไม่ควรเพื่อสัมผัสด้วยญาณผัสสะ คือ อรหัต.
บทว่า สาลลฏฺฐึ ได้แก่ ต้นสาละ. บทว่า นวํ คือ หนุ่ม. บทว่า
อกุกฺกุจฺจกชาตํ คือ ไม่เกิดความรังเกียจว่า ควรหรือไม่ควร. บทว่า
เลขณิยา ลิเขยฺย ได้แก่ ขีดพอเป็นรอย. บทว่า โธเปยฺย ได้แก่ ขัด.
บทว่า อนฺโตอวิสุทฺธา ได้แก่ ไม่เรียบในภายใน คือ ไม่เอาแก่นออก.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ เทียบด้วยอุปมาดังนี้. จริงอยู่ อัตภาพพึงเห็น
เหมือนต้นสาละ กระแสสงสารเหมือนกระแสน้ำ คนยึดถือทิฏฐิ 62 เหมือน
คนที่ต้องการจะไปฝั่งโน้น เวลาที่ยึดมั่นในอารมณ์ภายนอก เหมือนเวลาที่ทำ
ต้นสาละให้เรียบดีในภายนอก เวลาที่ศีลในภายในไม่บริสุทธิ์ เหมือนเวลาที่
ไม่ทำข้างในของต้นสาละให้เรียบ การที่คนถือทิฏฐิจมลงไปในกระแสสงสารวัฏ
พึงทราบเหมือนการที่ต้นสาละจมลงไปข้างล่าง.

บทว่า ชิยาริตฺตํ พนฺเธยฺย ได้แก่ ติดกรรเชียงและหางเสือ. บทว่า
เอวเมว โข เทียบด้วยอุปมาดังนี้ อัตภาพเหมือนต้น สาละหนุ่ม. กระแส
สงสารวัฏเหมือนกระแสน้ำ พระโยคาวจร เหมือนคนผู้ประสงค์จะไปฝั่งโน้น
เวลาที่ความสำรวมตั้งมั่นในทวาร 6 เหมือนเวลาที่ทำภายนอกให้เรียบศีลอาจาระ
บริสุทธิ์ในภายใน เหมือนความที่ทำภายในให้เรียบ การทำความเพียรทางกาย
และใจ เหมือนการติดกรรเชียงและหางเสือ การบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา
โดยลำดับ แล้วถึงนิพพาน พึงเห็นเหมือนการไปถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี.
บทว่า กณฺฑจิตฺตกานิ ได้แก่ กระบวนการที่ควรทำด้วยลูกศร
มีไม่น้อย เป็นต้นว่า คันศร เชือกศร รางศร ฉากศร สายศร ดอกศร.
บทว่า อถโข โส ตีหิ ฐาเนหิ ความว่า เขาแม้รู้กระบวนการลูกศรมาก
อย่างนี้ ก็ไม่คู่ควรแก่พระราชา แต่จะดู่ควรโดยฐานะ 3 เท่านั้น.
บทว่า สมฺมาสมาธิ โหติ ในบทนี้มีความว่า เป็นผู้ตั้งมั่นแล้ว
ด้วยมรรคสมาธิ และผลสมาธิ. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ ประกอบแล้ว
ด้วยมรรคสัมมาทิฏฐิ. ท่านกล่าวมรรค 4 ผล 3 ด้วยสัจจะ 4 มีอาทิว่า อิทํ
ทุกขํ
ดังนี้. พึงทราบความว่า ก็ผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐินี้ พึงทราบว่า
ชื่อว่า ยิงไม่พลาดด้วยมรรคเท่านั้น. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติ ได้แก่ ประกอบ
แล้วด้วยวิมุตติ คือ อรหัตผล. บทว่า อวิชฺชากฺขนฺธํ ปทาเลติ ความว่า
ผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าทำลายกองอวิชชาด้วยอรหัต-
มรรค. จริงอยู่ กองอวิชชาถูกทำลายด้วยอรหัตมรรคนี้ในภายหลัง แต่ในที่นี้
ควรกล่าวว่า ย่อมทำลายอาศัยกองอวิชชาที่ถูกทำลายแล้ว.
จบอรรถกถาสาตถสูตรที่ 6

7. มัลลิกสูตร


ตรัสเหตุที่ทำให้มาตุคามมีรูปงาม - ทราม


[197] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระ-
นางมัลลิกาเทวีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาณเจ้งถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาท
แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนใน
โลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ยากจนขัดสนทรัพย์สมบัติและต่ำศักดิ์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้
มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติ
มากและสูงศักดิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคาม
บางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณ
อันงามยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์สมบัติ และต่ำศักดิ? ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มี
รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้ง
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง
ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคือง
และความไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ยวดยาน
ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ