เมนู

เสยฺยถาปิ ภนฺเต ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺรยตฺถิโก คือเป็น
ผู้มีความต้องการกำไร. บทว่า อสฺสปณิยํ โปเสยฺย ความว่า พึงเลี้ยง ด้วย
คิดว่า เราจักซื้อลูกม้า 500 ตัว แล้วจึงขายในภายหลัง. ต้องใช้เครื่องอุปกรณ์
ประมาณ 500 เป็นค่าเลี้ยงดูม้าที่มีราคาพันหนึ่ง โดยเป็นของหอมและดอกไม้
เป็นต้น . ต่อมาม้าเหล่านั้นของเขาเกิดโรควันเดียวเท่านั้นก็ตายหมด เพราะ
เหตุนั้น เขากล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์นี้. บทว่า อุทฺรยญฺเจว นาธิ-
คจฺเฉยฺย
ได้แก่ ไม่ได้ทั้งกำไร ทั้งทุนที่ลงไป. บทว่า ปยิรูปาสึ ได้แก่
บำรุงด้วยปัจจัย 4. บทว่า โสหํ อุทฺรยญฺเจว นาธิคจฺฉึ ความว่า ข้า-
พระองค์ไม่ได้กำไร ทั้งขาดทุนอีกด้วย. ท่านแสดงว่า เราชื่อว่าเป็นคนบำรุง
ม้าไว้ขาย. คำที่เหลือในบทนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาวัปปสูตรที่ 5

6. สาตถสูตร


ว่าด้วยตรัสองค์แห่งสมณธรรม


[196] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคาร ศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีพระนามว่าสาฬหะและอภัย
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทแล้ว ประทับ
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เจ้าสาฬหลิจฉวีได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการ
รื้อถอนโอฆะ เพราะเหตุ 2 อย่าง คือ เพราะเหตุสีลวิสุทธิ 1 เพราะเหตุ
เกลียดตบะ 1 ส่วนในธรรมวินัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสาฬหะ เรากล่าวสีลวิสุทธิ
เเลว่า เป็นองค์แห่งสมณธรรมอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะ
ยกย่องการเกลียดตบะ ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ติดอยู่ในการเกลียดตบะ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ควร เพื่อจะรื้อถอนโอฆะออกได้ อนึ่ง สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา
ไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นไม่ควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ดูก่อนสาฬหะ
เปรียบเหมือนบุรุษใคร่จะข้ามแม่น้ำ พึงถือผึ่งอันคมเข้าไปสู่ป่า เขาพบต้น
รังใหญ่ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีที่น่ารังเกียจ เขาพึงตัดที่โคน
ตัดที่ปลาย ริดกิ่งและใบเรียบร้อยดีแล้ว ถากด้วยผึ่ง แล้วเกลาด้วยมีด ขีดลง
พอเป็นรอย ขัดด้วยลูกหินแล้วปล่อยลงแม่น้ำ ดูก่อนสาฬหะ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะข้ามแม่น้ำนั้นได้หรือ.
สาฬหะ. ข้อนั้นเป็นไม่ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.
สาฬหะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะต้นรังนั้นเขาแต่งเกลี้ยงเกลา
ในภายนอกไม่เรียมร้อยในภายใน บุรุษนั้น พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ไม้รังจะต้องจม
และบุรุษนั้นจักถึงความพินาศ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสาฬหะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณพราหมณ์เหล่าใดมี
วาทะยกย่องการเกลียดตบะ ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ติดอยู่ในการเกลียด
ตบะ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ควรเพื่อรื้อถอนโอฆะออก อนึ่ง สมณพราหมณ์
เหล่าใดมีความพระพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่ควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าใด

ไม่เป็นผู้มีวาทะยกย่องการเกลียดตบะ ไม่ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ไม่ติด
อยู่ในการเกลียดตบะ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรเพื่อรื้อถอนโอฆะออกได้
อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติ
ทางวาจาบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ มีอาชีพบริสุทธิ์ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม เปรียบเหมือน
บุรุษใคร่จะข้ามแม่น้ำ ถือเอาผึ่งอันคมเข้าไปสู่ป่า เขาเห็นต้นรังใหญ่ในป่านั้น
ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีที่น่ารังเกียจ เขาพึงตัดมันที่โคน แล้วตัดปลาย
ริดกิ่งและใบเรียบร้อยดีแล้ว ถากด้วยผึง เกลาด้วยมีด ขัดแต่งด้วยสิ่ว ทำ
ภายในให้เรียบร้อย ขุดเป็นร่อง แล้วขัดด้วยลูกหิน กระทำให้เป็นเรือ ติด
กรรเชียงและหางเสือ แล้วปล่อยลงแม่น้ำ ดูก่อนสาฬหะ ท่านจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรข้ามแม่น้ำได้หรือไม่.
สาฬหะ. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.
สาฬหะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะต้นรังนั้นเขาแต่งเกลี้ยงเกลาดี
ในภายนอก เรียบร้อยในภายใน ทำเป็นเรือ ติดกรรเชียงและหางเสือ บุรุษ
นั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า เรือจักไม่จม บุรุษจักถึงฝังได้โดยสวัสดี พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสาฬหะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณพราหมณ์เหล่าใด
ไม่มีวาทะยกย่องการเกลียดตบะ ไม่ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ไม่ติดอยู่ใน
การเกลียดตบะ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรเพื่อรื้อถอนโอฆะออกได้ อนึ่ง
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทาง
วาจาบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ มีอาชีพบริสุทธิ์ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ดูก่อนสาพหะ เปรียบ
เหมือนนักรบ ถึงแม้จะรู้กระบวนลูกศรเป็นอันมาก ถึงกระนั้น เขาจะได้

ชื่อว่าเป็นนักรบคู่ควรแก่พระราชา เป็นผู้ควรที่พระราชาใช้สอย ย่อมถึงการนับ
ว่าเป็นองค์ของพระราชาทีเดียว ก็ด้วยสถาน 3 ประการ 3 ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้ยิ่งได้ไกล 1 ยิ่งได้ไว 1 ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ 1 ดูก่อนสาฬหะ
นักรบผู้ยิงได้ไกล แม้ฉันใด อริยสาวกผู้มีสัมมาสมาธิ ก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้
มีสัมมาสมาธิ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ใกล้หรือไกล รูปทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ของเรา
ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง. .. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง.. . สังขาร
อย่างใดอย่างหนึ่ง...วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอน หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ใกล้หรือไกล
วิญญาณทั้งหมดนี้ไม่ใช่ชองเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้
ดูก่อนสาฬหะ นักรบผู้ยิ่งได้ไวฉันใด อริยสาวกผู้มีสัมมาทิฏฐิก็ฉันนั้น อริย-
สาวกผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกชนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนสาฬหะ นักรบผู้ทำลายข้าศึก
หมู่ใหญ่ได้ ฉันใด อริยสาวกผู้มีสัมมาวิมุตติก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีสัมมา-
วิมุตติย่อมทำลายกองอวิชชาอันใหญ่เสียได้.
จบสาตถสูตรที่ 6

อรรถกถาสาตถสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสาตถสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทฺวเยน คือ เพราะส่วนสอง. บทว่า โอฆสฺส นิตฺถรณํ
ได้แก่ การรื้อถอนโอฆะ 4. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุ
เกลียดบาปด้วยตบะ กล่าวคือการทำทุกรกิริยา. บทว่า อญฺญตรํ สามญฺญงฺคํ
ได้แก่ ส่วนแห่งสมณธรรมอย่างหนึ่ง. ในบทมีอาทิว่า อปริสุทฺธกายสมา-
จารา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงศีล ความประพฤติทางกาย วาจา และ
ใจไม่บริสุทธิ์ ด้วยสามบทนี้ แล้วจึงทรงแสดงถึงความเป็นผู้มีอาชีวะไม่
บริสุทธิ์ด้วยบทหลัง. บทว่า ญาณทสฺสนาย ได้แก่ ทัสสนะอันได้แก่
มรรคญาณ. บทว่า อนุตฺตราย สมฺโพธาย ได้แก่พระอรหัต. ท่านอธิบาย
ว่า ไม่ควรเพื่อสัมผัสด้วยญาณผัสสะ คือ อรหัต.
บทว่า สาลลฏฺฐึ ได้แก่ ต้นสาละ. บทว่า นวํ คือ หนุ่ม. บทว่า
อกุกฺกุจฺจกชาตํ คือ ไม่เกิดความรังเกียจว่า ควรหรือไม่ควร. บทว่า
เลขณิยา ลิเขยฺย ได้แก่ ขีดพอเป็นรอย. บทว่า โธเปยฺย ได้แก่ ขัด.
บทว่า อนฺโตอวิสุทฺธา ได้แก่ ไม่เรียบในภายใน คือ ไม่เอาแก่นออก.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ เทียบด้วยอุปมาดังนี้. จริงอยู่ อัตภาพพึงเห็น
เหมือนต้นสาละ กระแสสงสารเหมือนกระแสน้ำ คนยึดถือทิฏฐิ 62 เหมือน
คนที่ต้องการจะไปฝั่งโน้น เวลาที่ยึดมั่นในอารมณ์ภายนอก เหมือนเวลาที่ทำ
ต้นสาละให้เรียบดีในภายนอก เวลาที่ศีลในภายในไม่บริสุทธิ์ เหมือนเวลาที่
ไม่ทำข้างในของต้นสาละให้เรียบ การที่คนถือทิฏฐิจมลงไปในกระแสสงสารวัฏ
พึงทราบเหมือนการที่ต้นสาละจมลงไปข้างล่าง.