เมนู

เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์นี้จัก
โปรยความเลื่อมใสในพวกนิครนถ์ผู้โง่เขลาเสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียใน
แม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า คนผู้มีจักษุ
จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์
ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบวัปปสูตรที่ 5

อรรถกถาวัปปสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวัปปสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วปฺโป ได้แก่ เจ้าศากยะผู้เป็นพระเจ้าอาของพระทศพล
บทว่า นิคณฺฐสาวโก ได้แก่ เป็นอุปฐากของนิคัณฐนาฏบุตร ดุจสีหเสนาบดี
ในกรุงเวสาลี และดุจอุปาลิคฤหบดีในเมืองนาฬันทา. บทว่า กาเยน สํวุโต
ความว่า ชื่อว่า สำรวมด้วยกาย เพราะสำรวมคือปิดกายทวาร. แม้ในสองบท
ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า อวิชฺชาวิราคา ได้แก่ เพราะอวิชชาคลาย
สิ้นไป. บทว่า วิชฺชุปฺปาทา ได้แก่ เพราะมรรควิชชาเกิดขึ้น. บทว่า ตํ
ฐานํ
แปลว่าเหตุนั้น . บทว่า อวิปกฺกวิปากํ ได้แก่ ยังไม่ถึงวาระได้รับผล.
บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ มีกรรมนั้นเป็นเหตุ มีบาปกรรมนั้นเป็นปัจจัย.

บทว่า ทุกฺขเวทนิยา อาสวา อสฺสเวยฺยุํ ความว่า กิเลสทั้งหลายอันเป็น
ปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไหลไปตาม คือพึงเข้าไปตาม อธิบายว่า กิเลส
ทั้งหลายพึงเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้น. บทว่า อภิสมฺปรายํ ได้แก่ ในอัตภาพที่สอง
นั้นแล. บทว่า กายสมารมฺภปจฺจยา แปลว่า เพราะกายกรรมเป็นปัจจัย.
บทว่า อาสวา ได้แก่ กิเลสทั้งหลาย. ในบทว่า วิฆาตปริฬาหา นี้ ทุกข์
ชื่อว่าวิฆาคะ ความเร่าร้อนทางกายและทางจิต ซึ่งว่าปริฬาหะ. บทว่า ผุสฺส
ผุสฺสพฺยนฺตีกโรติ
ความว่า กรรมที่ญาณจะพึงฆ่า พอกระทบญาณสัมผัส
ก็สิ้นไป กรรมที่วิบากจะพึงฆ่า พอกระทบวิบากสัมผัส ก็สิ้นไป. บทว่า
นิชฺชรา ได้แก่ ปฏิปทาที่ทำกิเลสให้โซมไป. แม้ในวาระที่เหลือก็นัยนี้
เหมือนกัน.
ภิกษุนี้ดำรงอยู่ในปฏิปทาน ควรเป็นพระขีณาสพ. ควรนำมหาภูต-
รูป 4 ออกแล้วแสดงการกำหนดด้วยอริยสัจ 4 แล้วพึงบอกกรรมฐาน จนถึง
อรหัตผล. ก็บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงสตตวิหารธรรม
ธรรมเครื่องอยู่ประจำของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอวํ สมฺมา-
วิมุตฺตจิตฺตสฺส
ดังนี้ . ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาวิมุตฺตสฺส ได้แก่
พ้นแล้วโดยชอบ โดยเหตุการณ์ โดยนัย. บทว่า สตตวิหารา ได้แก่
ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิจ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ประจำ. บทว่า เนว สุมโน
โหติ
ได้แก่ เป็นผู้ไม่เกิดโสมนัสด้วยอำนาจความกำหนัดในอิฏฐารมณ์. บทว่า
น ทุมฺมโน ได้แก่ไม่เป็นผู้เกิดโทนนัสด้วยอำนาจความขุ่นใจในอนิฏฐารมณ์.
บทว่า อุเปกฺขโก วิหรติ สโต สมฺปชาโน ได้แก่ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีความเป็นกลางในอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอุเบกขา มีอาการคือความเป็นกลาง
เป็นลักษณะกำหนดถือเอา ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่.

บทว่า กายปริยนฺติกํ ได้แก่ เวทนามีกายเป็นที่สุด คือกำหนด
ด้วยกาย อธิบายว่า เวทนาเป็นไปในทวาร 5 ยังเป็นไปอยู่ตราบเท่าที่กาย คือ
ทวาร 5 ยังเป็นไปอยู่. บทว่า ชีวิตปริยนฺติกํ ได้แก่เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
คือ กำหนดด้วยชีวิต อธิบายว่า เวทนาอันเป็นไปในมโนทวาร ยังเป็นไปอยู่
ตราบเท่าที่ชีวิตยังเป็นไปอยู่. ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาอันเป็นไปในทวาร 5
เกิดทีหลังแต่ดับก่อน. เวทนาอันเป็นไปในมโนทวารเกิดก่อนแต่ดับทีหลัง
เพราะเวทนานั้นตั้งอยู่ในวัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ. เวทนาอันเป็นไปในทวาร 5
ยังเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจปัญจทวารในปัจจุบัน คราวมีอายุ 20 ปี ในปฐมวัย
ยังมีกำลังแข็งแรงด้วยอำนาจความรัก ความโกรธและความหลง คราวมีอายุ
50 ปี ยังคงที่อยู่ จะลดลงตั้งแต่อายุ 60 ปี คราวอายุ 80 - 90 ปี ก็น้อย
เต็มที. ด้วยว่าในครั้งนั้นสัตว์ทั้งหลาย แม้เมื่อมีผู้กล่าวว่า พวกเรานั่งนอน
ร่วมกันมานานแล้ว ก็พูดว่า เราไม่รู้ดังนี้ก็มี พูดว่า เราไม่เห็นอารมณ์มีรูป
เป็นต้น แม้มีประมาณมาก เราไม่ได้ยิน เราไม่รู้กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น รสอร่อย
รสไม่อร่อย หรือแข็งอ่อน ดังนี้ก็มี. เวทนาเป็นไปในทวาร 5 ของสัตว์
เหล่านั้น ถึงจะดับไป . แต่เวทนาเป็นไปในมโนทวาร ก็ยังเป็นไปอยู่ด้วย
ประการฉะนี้. เวทนานั้นเสื่อมไปโดยลำดับ ในเวลาใกล้ตายอาศัยส่วนของ
หทยวัตถุเท่านั้นยังเป็นไปอยู่ได้. ก็เวทนานั้นยังเป็นไปอยู่ได้เพียงใด ท่าน
กล่าวว่าสัตว์ยังมีชีวิตอยู่ได้เพียงนั้น. เมื่อใดเวทนาเป็นไปไม่ได้ เมื่อนั้น
ท่านกล่าวว่า สัตว์ตายแล้ว ดับแล้ว ดังนี้. พึงเปรียบความข้อนี้นั้นด้วยหนองน้ำ.
เหมือนอย่างว่า บุรุษพึงทำหนองน้ำให้มีทางน้ำ 5 ทาง เมื่อฝนตก
ครั้งแรก พึงให้น้ำเข้าไปโดยทางน้ำทั้ง 5 แล้วขังน้ำไว้ในบ่อ ภายในหนองน้ำ
ให้เต็ม เมื่อฝนตกบ่อย ๆ น้ำเต็มในทางของน้ำ แล้วท่วมล้นออกไปประมาณ
คาวุตหนึ่งหรือกึ่งโยชน์ น้ำยังขังอยู่ น้ำเมื่อไหลออกจากนั้น เมื่อชาวนาเปิด

คันกั้นน้ำ ทำงานในนา น้ำไหลออก คราวข้าวกล้าแก่น้ำก็ไหลออก น้ำงวดไป
ชาวนาก็พูดว่า เราจะจับปลา จากนั้นล่วงไป 2-3 วัน น้ำก็ขังอยู่แต่ในบ่อ
เท่านั้น ก็ตราบใดน้ำนั้นยังมีในบ่อ ตราบนั้นก็นับได้ว่า น้ำยังมีในหนองน้ำ
แต่เมื่อใด น้ำในบ่อนั้นขาด เมื่อนั้น ก็เรียกได้ว่า น้ำไม่มีในหนองน้ำ ฉันใด
ข้ออุปไมยพึงทราบฉันนั้น.
เวลาที่เวทนาอันเป็นไปในมโนทวาร ตั้งอยู่ในวัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ
ครั้งแรก เหมือนเวลาที่เมื่อฝนตกครั้งแรก เมื่อน้ำไหลเข้าไปโดยทางทั้ง 5
บ่อก็เต็ม เมื่อวัตถุรูปยังเป็นไปอยู่ เวทนาอันเป็นไปในทวาร 5 ก็เป็นไปอยู่ได้
เหมือนเวลาที่เมื่อฝนตกบ่อย ๆ น้ำเต็มทางทั้ง 5 ความที่เวทนานั้นมีกำลังมาก
ยิ่งด้วยอำนาจความรักเป็นต้น คราวที่มีอายุ 20 ปี ในปฐมวัยเหมือนการที่
น้ำท่วมล้นไปประมาณคาวุตหนึ่งแสะกึ่งโยชน์ เวลาที่เวทนานั้นยังคงที่อยู่
คราวที่มีอายุ 50 ปี เหมือนเวลาที่น้ำยังขังอยู่เต็มในหนองน้ำ ตราบเท่าที่น้ำ
ยังไม่ไหลออกจากหนองน้ำนั้น เวทนาเสื่อมตั้งแต่เวลาที่มีอายุ 60 ปี เหมือน
เวลาที่เมื่อเปิดคันกั้นน้ำ เมื่อทำงานน้ำก็ไหลออก เวลาที่เวทนาอันเป็นไป
ในทวาร 5 อ่อนลง เมื่อมีอายุ 80 - 90 ปี เหมือนเวทนาที่เมื่อน้ำงวด ยังมี
น้ำเหลืออยู่นิดหน่อยที่ทางน้ำ เวลาที่เวทนาในมโนทวารยังเป็นไปอยู่ได้
เพราะอาศัยส่วนแห่งหทัยวัตถุ เหมือนเวลาที่น้ำยังขังอยู่ในบ่อนั่นเอง ตราบใด
ที่เวทนานั้น ยังเป็นไปอยู่ได้ ตราบนั้นก็เรียกได้ว่า สัตว์ยังมีชีวิตอยู่ เหมือน
เวลาที่ควรจะพูดได้ว่า เมื่อในบ่อมีน้ำแม้นิดหน่อย น้ำในหนองน้ำก็ยังมีอยู่.
ก็เมื่อน้ำในบ่อขาด ก็เรียกได้ว่า ไม่มีน้ำในหนองน้ำ ฉันใด เมื่อเวทนาเป็น
ไปในมโนทวารเป็นไปไม่ได้ ก็เรียก ได้ว่า สัตว์ตายฉันนั้น. บทว่า ชีวิต-
ปรียนฺติกํ เวทนํ เวทิยมาโน
ท่านกล่าวหมายถึงเวทนานี้แล.

บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ กายแตก. บทว่า อุทฺธํ ชีวิตปริยา-
ทานา
ได้แก่ เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิตไป. บทว่า อิเธว ได้แก่ ในโลกนี้เท่านั้น
ไม่ไปข้างหน้า ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า สีติ ภวิสฺสนฺติ ได้แก่ เวทนา
ทั้งปวง เว้นจากความเป็นไป ความดิ้นรนและความกระวนกระวายก็จักเป็น
ของเย็น มีอันไม่เป็นไปเป็นธรรมดา .
บทว่า ถูณํ ปฏิจฺจ ได้แก่ อาศัยต้นไม้. บทว่า กุทฺทาลปิฏกํ
อาทาย
ความว่า ถือจอบ เสียม และตะกร้า แต่เทศนาท่านมุ่งแต่จอบเท่านั้น.
บทว่า มูเล ฉินฺเทยฺย ได้แก่ พึงเอาจอบตัดที่โคน. บทว่า ปลิขเณยฺย
ได้แก่ เอาเสียมขุดโดยรอบ. ในข้อว่า เอวเมว โข นี้ เทียบด้วยอุปมา ดังนี้.
อัตภาพพึงเห็นเหมือนต้นไม้ กุศลกรรมและอกุศลกรรมเหมือนเงาอาศัย
ต้นไม้ พระโยคาวจรเหมือนบุรุษผู้ประสงค์จะทำเงาไม่ให้เป็นไป ปัญญา
เหมือนจอบ สมาธิเหมือนตะกร้า วิปัสสนาเหมือนเสียม เวลาที่ตัดอวิชชา
ด้วยอรหัตมรรค เหมือนเวลาที่เอาเสียมขุดราก เวลาที่เห็นเป็นกอง เหมือน
เวลาที่ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เวลาที่เห็นเป็นอายตนะเหมือนเวลาที่ผ่าออก
เวลาที่เห็นเป็นธาตุเหมือนเวลาที่ทำให้เป็นผง เวลาที่ทำความเพียรทางกาย
ทางจิต เหมือนเวลาที่ตากให้เเห้งที่ลมและแดด เวลาที่เผากิเลสด้วยญาณ
เหมือนเวลาที่เอาไฟเผา เวลาที่ขันธ์ 5 ยังทรงอยู่ เหมือนเวลาที่ทำเป็นเขม่า
การดับขันธ์ 5 ที่มีรากตัดขาดแล้วโดยไม่มีปฏิสนธิ เหมือนเวลาที่โปรยไปใน
พายุใหญ่ เหมือนเวลาที่ลอยไปในกระแสน้ำ ความที่ไม่มีบัญญัติ เพราะ
วิบากขันธ์ไม่เกิดในภพใหม่ พึงทราบเหมือนการเข้าไปสู่ความไม่มีบัญญัติ
โดยโปรยไปและลอยไป.
บทว่า ภควนฺตํ เอตทโวจ ความว่า เมื่อพระศาสดาทรงยักเยื้อง
เทศนาอยู่ วัปปศากยราชบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า

เสยฺยถาปิ ภนฺเต ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺรยตฺถิโก คือเป็น
ผู้มีความต้องการกำไร. บทว่า อสฺสปณิยํ โปเสยฺย ความว่า พึงเลี้ยง ด้วย
คิดว่า เราจักซื้อลูกม้า 500 ตัว แล้วจึงขายในภายหลัง. ต้องใช้เครื่องอุปกรณ์
ประมาณ 500 เป็นค่าเลี้ยงดูม้าที่มีราคาพันหนึ่ง โดยเป็นของหอมและดอกไม้
เป็นต้น . ต่อมาม้าเหล่านั้นของเขาเกิดโรควันเดียวเท่านั้นก็ตายหมด เพราะ
เหตุนั้น เขากล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์นี้. บทว่า อุทฺรยญฺเจว นาธิ-
คจฺเฉยฺย
ได้แก่ ไม่ได้ทั้งกำไร ทั้งทุนที่ลงไป. บทว่า ปยิรูปาสึ ได้แก่
บำรุงด้วยปัจจัย 4. บทว่า โสหํ อุทฺรยญฺเจว นาธิคจฺฉึ ความว่า ข้า-
พระองค์ไม่ได้กำไร ทั้งขาดทุนอีกด้วย. ท่านแสดงว่า เราชื่อว่าเป็นคนบำรุง
ม้าไว้ขาย. คำที่เหลือในบทนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาวัปปสูตรที่ 5

6. สาตถสูตร


ว่าด้วยตรัสองค์แห่งสมณธรรม


[196] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคาร ศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีพระนามว่าสาฬหะและอภัย
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทแล้ว ประทับ
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เจ้าสาฬหลิจฉวีได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการ
รื้อถอนโอฆะ เพราะเหตุ 2 อย่าง คือ เพราะเหตุสีลวิสุทธิ 1 เพราะเหตุ
เกลียดตบะ 1 ส่วนในธรรมวินัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร พระเจ้าข้า.