เมนู

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ ความว่า เราจัก
ประคับประคองด้วยวิปัสสนาปัญญาไว้ในที่นั้น ๆ. ในบทว่า โย ตตฺถ ฉนฺโท
เป็นต้น พึงทราบความโดยนัยนี้ว่า กัตตุกัมมยตาฉันทะความพอใจ คือ ความ
ใคร่ทำในการประคับประคองนั้นอันใด. ก็ สติ สัมปชัญญะ ท่านกล่าวใน
ที่นี้เพื่อภิกษุเข้าไปตั้งสติไว้แล้วกำหนดด้วยญาณ ยังความเพียรให้ดำเนินไป
บทว่า รชฺชนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ วิราเชติ ความว่า ย่อมทำโดยอาการ
ที่จิตคลายกำหนดในอิฏฐารมณ์อันเป็นปัจจัยแห่งราคะ. บทว่า วิโมจนีเยสุ
ธมฺเมสุ จิตฺตํ วิโมเจติ
ความว่า ย่อมทำโดยอาการที่จิตเปลื้องไปจากอารมณ์
ซึ่งจิตควรจะเปลื้อง. ในบทว่า วิราเชตฺวา นี้ชื่อว่า คลายกำหนัดในขณะ
แห่งมรรค ชื่อว่า คลายกำหนัดแล้วในขณะแห่งผล. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้
เหมือนกัน . บทว่า สมฺมาวิมุตตึ ผุสติ ได้แก่ ถูกต้องอรหัตผลวิมุตติ
ตามเหตุตามนัยด้วยญาณผัสสะ.
จบอรรถกถาสามุคิยสูตรที่ 4

5. วัปปสูตร


ว่าด้วยเจ้าวัปปะเสด็จเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ


[195] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนิโครธาราม
เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็น
สาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาท
แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ได้กล่าวว่า ดูก่อนวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวม

ด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะ
ที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ
หรือไม่ วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอัน
เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้น
เป็นเหตุ ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากันวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์
ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจาก
ที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว
ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคลัลานะว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอ
ทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกัน ไว้
ในระหว่าง.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า
ดูก่อนวัปปะ บุคคลในโลก พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา
สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะ
ข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาป-
กรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่ง
ทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ค้างอยู่
เพียงนี้แล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาถึง.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของ
นิครนถ์ว่า ดูก่อนวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้าน

ข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด ท่านพึง
ซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร
ดังนี้ไซร้ เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้ วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอม และจักคัดค้านข้อที่
ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าข้อใด ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนั้น
ยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ขอเราจงสนทนากัน
ในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด
ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล
งดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือนร้อน
ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่าน
ย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตาม
บุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่.
วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด
ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล
งดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน
ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่าน
ย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตาม
บุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด
ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการการทำทางใจเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล
งดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทา
เผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะ
ที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ
นั้นหรือไม่.
วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด
ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาดับไป
วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่
ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลส
ให้พินาศ...อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่
เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ
นั้นหรือไม่.
วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อม
บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ 6 ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู....สูดกลิ่นด้วยจมูก...
ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่
ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็น
ที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็น

ที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตก
สิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น
ดูก่อนวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและ
ตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้
เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้
เป็นซีก ๆ แล้วผึ่งลมและแดด ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำ
ให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาล
ยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด ดูก่อนวัปปะ
ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้
บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ 6 ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่
ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่น
ด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฎฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวย
เวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวนเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า
เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็น
ของเย็น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของ
นิครนถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษต้อง
การกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด) เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้อง
เหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ข้าพระองค์หวังกำไรเข้าคบหา
นิครนถ์ผู้โง่ ต้องขาดทุน ทั้งต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์นี้จัก
โปรยความเลื่อมใสในพวกนิครนถ์ผู้โง่เขลาเสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียใน
แม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า คนผู้มีจักษุ
จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์
ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบวัปปสูตรที่ 5

อรรถกถาวัปปสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวัปปสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วปฺโป ได้แก่ เจ้าศากยะผู้เป็นพระเจ้าอาของพระทศพล
บทว่า นิคณฺฐสาวโก ได้แก่ เป็นอุปฐากของนิคัณฐนาฏบุตร ดุจสีหเสนาบดี
ในกรุงเวสาลี และดุจอุปาลิคฤหบดีในเมืองนาฬันทา. บทว่า กาเยน สํวุโต
ความว่า ชื่อว่า สำรวมด้วยกาย เพราะสำรวมคือปิดกายทวาร. แม้ในสองบท
ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า อวิชฺชาวิราคา ได้แก่ เพราะอวิชชาคลาย
สิ้นไป. บทว่า วิชฺชุปฺปาทา ได้แก่ เพราะมรรควิชชาเกิดขึ้น. บทว่า ตํ
ฐานํ
แปลว่าเหตุนั้น . บทว่า อวิปกฺกวิปากํ ได้แก่ ยังไม่ถึงวาระได้รับผล.
บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ มีกรรมนั้นเป็นเหตุ มีบาปกรรมนั้นเป็นปัจจัย.