เมนู

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ปญฺญาย อนุคฺคเหสฺสามิ ความว่า เราจัก
ประคับประคองด้วยวิปัสสนาปัญญาไว้ในที่นั้น ๆ. ในบทว่า โย ตตฺถ ฉนฺโท
เป็นต้น พึงทราบความโดยนัยนี้ว่า กัตตุกัมมยตาฉันทะความพอใจ คือ ความ
ใคร่ทำในการประคับประคองนั้นอันใด. ก็ สติ สัมปชัญญะ ท่านกล่าวใน
ที่นี้เพื่อภิกษุเข้าไปตั้งสติไว้แล้วกำหนดด้วยญาณ ยังความเพียรให้ดำเนินไป
บทว่า รชฺชนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ วิราเชติ ความว่า ย่อมทำโดยอาการ
ที่จิตคลายกำหนดในอิฏฐารมณ์อันเป็นปัจจัยแห่งราคะ. บทว่า วิโมจนีเยสุ
ธมฺเมสุ จิตฺตํ วิโมเจติ
ความว่า ย่อมทำโดยอาการที่จิตเปลื้องไปจากอารมณ์
ซึ่งจิตควรจะเปลื้อง. ในบทว่า วิราเชตฺวา นี้ชื่อว่า คลายกำหนัดในขณะ
แห่งมรรค ชื่อว่า คลายกำหนัดแล้วในขณะแห่งผล. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้
เหมือนกัน . บทว่า สมฺมาวิมุตตึ ผุสติ ได้แก่ ถูกต้องอรหัตผลวิมุตติ
ตามเหตุตามนัยด้วยญาณผัสสะ.
จบอรรถกถาสามุคิยสูตรที่ 4

5. วัปปสูตร


ว่าด้วยเจ้าวัปปะเสด็จเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ


[195] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนิโครธาราม
เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็น
สาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาท
แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ได้กล่าวว่า ดูก่อนวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวม