เมนู

8. ทุติยอคติสูตร


ว่าด้วยความลำเอียง 4


[18] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ลำเอียง 4 ประการนี้ ความ
ไม่ลำเอียง 4 คืออะไร คือไม่ลำเอียงเพราะชอบกัน ไม่ลำเอียงเพราะชังกัน
ไม่ลำเอียงเพราะเขลา ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ความไม่ลำเอียง
4 ประการ.
บุคคลใดไม่ประพฤติล่วงธรรม
เพราะความชอบกัน เพราะความชังกัน
เพราะความกลัว เพราะความเขลา ยศของ
บุคคลนั้นย่อมเพิ่มพูน เหมือนดวงจันทร์
ข้างขึ้น ฉะนั้น.

จบทุติยอคติสูตรที่ 8
ทุติยอคติสูตรที่ 8 ง่ายทั้งนั้น.

9. ตติยอดติสูตร


ว่าด้วยความลำเอียงและความไม่ลำเอียง


[19] สูตรนี้ นำเอาสูตร 17, 18 มารวมเข้าเป็นสูตรเดียว
ความเหมือน 2 สูตรนั้นทุกประการ.
จบตติยอคติสูตรที่ 9
ตติยอคติสูตรที่ 9 ตรัสด้วยนัยทั้งสองด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ตรัสรู้
เหมือนกัน.

10. ภัตตุเทสกสูตร


ว่าด้วยพระภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม 4


[20] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสก์ ประกอบด้วยธรรม
ประการ ย่อมอุบัติในนรก เหมือนเขานำตัวไปขังไว้ฉะนั้น ธรรม 4 ประการ
คืออะไร คือ ลำเอียงเพราะชอบกัน ลำเอียงเพราะชังกัน ลำเอียงเพราะเขลา
ลำเอียงเพราะกลัว พระภัตตุทเทสก์ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ย่อม
อุบัติในนรก เหมือนเขานำตัวไปขังไว้ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสก์ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อม
อุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น ธรรม 4 ประการ
คืออะไร คือ ไม่ลำเอียงเพราะชอบกัน ไม่ลำเอียงเพราะชังกัน ไม่ลำเอียง
เพราะเขลา ไม่ลำเอียงเพราะกลัว พระภัตตุทเทสก์ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
นี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่สำรวมใน
กามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
ไม่เคารพธรรม ลำเอียงเพราะชอบกัน
เพราะชังกัน และเพราะกลัว นั่นเราเรียกว่า
ผู้เป็นหยากเยื่อในบริษัทพระสมณะผู้รู้ตรัส
ไว้อย่างนี้แล.
เพราะเหตุนั้น ชนเหล่าใดตั้งอยู่ใน
ธรรม ไม่ทำความชั่ว ไม่ลำเอียงเพราะ
ชอบกัน ซึ่งกัน และไม่ลำเอียงเพราะ