เมนู

อรรถกถาพราหมณสัจจสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสัจจสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺราหฺมณสจฺจานิ แปลว่า สัจจะของพราหมณ์ทั้งหลาย.
บทว่า โส เตน น สมโณติ มญฺญติ ความว่า โดยสัจจะนั้น พระ-
ขีณาสพนั้น ย่อมไม่สำคัญด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ว่าเราเป็นสมณะ ดังนี้
แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า ยเทว ตตฺถ สจฺจํ ตทภิญฺญาย
ความว่า สัจจะใดเป็นความจริงแท้ ไม่แปรผันในการปฏิบัตินั้นว่า สัตว์ทั้งปวง
ไม่ควรฆ่า ดังนี้. ด้วยบทนี้ ทรงทำวจีสัจไว้ในภายใน แสดงนิพพานเป็น
ปรมัตถสัจ. บทว่า ตทภิญฺญาย ได้แก่ รู้สัจจะทั้งสองนั้น ด้วยปัญญาอัน
วิเศษยิ่ง. บทว่า อนุทยาย อนุกมฺปาย ปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้
ปฏิบัติปฏิปทาเพื่อความเอ็นดู และเพื่อความอนุเคราะห์ อธิบายว่า เป็นผู้
บำเพ็ญเต็มที่. บทว่า สพฺเพ กามา ได้แก่ วัตถุก้านทั้งหมด กิเลสกาม
ทั้งหมด. แม้ในปฏิปทาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิติ วทํ พฺราหฺมโณ
สจฺจํ อาห
ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ชื่อว่า
กล่าวจริงทั้งนั้น. บทว่า สพฺเพ ภวา ได้แก่ ภพ 3 มีกามภพเป็นต้น.
ก็ในบทว่า นาหํ กวฺจินิ นี้ ตรัสสุญญตาความสูญไว้ 4 เงื่อน
จริงอยู่ พระขีณาสพนี้ไม่เห็นตนในที่ไหน ๆ ว่าเราย่อมไม่มีในอะไร ๆ. บทว่า
กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ ความว่าไม่เห็นตนของตน ที่พึงนำเข้าไปในความกังวล
สำหรับใครอื่น อธิบายว่าไม่เห็นว่าพี่ชายควรสำคัญนำเข้าไปในฐานะพี่ชายสหาย
ในฐานะสหายหรือบริขารในฐานะบริขาร ดังนี้ . ในบทว่า น จ มม กวฺจินิ นี้
เว้นมมศัพท์ไว้ก่อน มีความดังนี้ว่า พระขีณาสพไม่เห็นตนว่ามีกังวลอยู่ในสิ่ง