เมนู

อรรถกถาราหุลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในราหุลสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌตฺติกา ได้แก่ ปฐวีธาตุใน 20 ส่วน มีผมเป็นต้น
มีลักษณะแข็ง. บทว่า พาหิรา ได้แก่ พึงทราบปฐวีธาตุในแผ่นหินและ
ภูเขาเป็นต้น อันไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นภายนอกมีลักษณะแข็ง. พึงทราบ
ธาตุแม้ที่เหลือโดยนัยนี้. บทว่า เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เม โส อตฺตา
(นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา) นี้ ท่านกล่าว
ด้วยอำนาจการปฏิเสธความยึดถือ. ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ. บทว่า สมฺ-
มปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ
ได้แก่ พึงเห็นด้วยมรรคปัญญาโดยเหตุโดยการณ์.
บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ เห็นด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา.
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ ได้แก่ ตัดตัณหาที่พึงฆ่าด้วยมรรคพร้อมด้วยมูล.
บทว่า วิวฏฺฏยิ สญฺโญชนํ ได้แก่รื้อ คือเพิกถอนละสังโยชน์ 10 อย่าง.
บทว่า สมฺมามานาภิสมยา ได้แก่ เพราะละมานะ 9 อย่าง โดยเหตุโดยการณ์.
บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้แก่ กระทำวัฏทุกข์ให้ขาดทาง อธิบายว่า
กระทำแล้วยังตั้งอยู่ พระศาสดาตรัสวิปัสสนาไว้ในราหุลวาทสูตรในสังยุตตนิกาย
ด้วยประการฉะนี้. แม้ในจูฬราหุโลวาทสูตรก็ตรัสวิปัสสนาไว้. ตรัสการเว้น
จากมุสาวาทของภิกษุหนุ่มไว้ในราหุโลวาทสูตร ณ อัมพลัฏฐิการาม. ตรัส
วิปัสสนาเท่านั้นในมหาราหุโลวาทสูตร. ตรัสจตุโกฏิกสุญญตาไว้ในอังคุคตร-
นิกายนี้.
จบอรรถกถาราหุลสูตรที่ 7

8. ชัมพาลีสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[178] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
4 จำพวกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ
เจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นมนสิการสักกายนิโรธ
(ความดับสักกายะ คือ วัฏฏะอัน เป็นไปในภูมิ 3) เมื่อเธอมนสิการสักกาย-
นิโรธอยู่ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปใน
สักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษมี
มือเปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของเขานั้นพึงจับติดกิ่งไม้อยู่ แม้ฉันใด
ภิกษุบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เธอย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่ จิตย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้
ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้สักกายนิโรธ.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง
หนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่
จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลพึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษมีมือหมดจดจับกิ่งไม้ มือ
ของเขานั้นไม่พึงจับติดอยู่ที่กิ่งไม้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบ
อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอย่อมมนสิการสักกายนิโรธ
เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ จิตย่อมแล่นไปย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อม
น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลพึงหวังได้สักกายนิโรธ.