เมนู

อนุรักขนาปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษา
สมาธินิมิตอันงามที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา (ความสำคัญในศพที่เหลือ
แต่กระดูก) ปุฬุวกสัญญา (ความสำคัญในศพที่มีหนอนคลาคล่ำ) วินีลกสัญญา
(ความสำคัญในศพที่มีสีเขียวคล้ำ) วิปุพพกสัญญา (ความสำคัญในศพที่มี
น้ำเหลืองไหล) วิจฉิททกสัญญา (ความสำคัญในศพที่ฉีกขาด) อุทธุมาตก-
สัญญา (ความสำคัญในศพที่ขึ้นพอง) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปธาน 4
สังวรปธาน 1 ปหานปธาน 1 ภาวนา-
ปธาน 1 อนุรักขนาปธาน 1 ปธาน 4 นี้
พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ทรง
แสดงไว้เป็นเครื่องให้ภิกษุผู้มีความเพียร
ในพระศาสนานี้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์.

จบสังวรสูตรที่ 4

อรรถกถาสังวรสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังวรสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
ความเพียร ชื่อ ปธาน. ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมจักษุเป็นต้น
ชื่อสังวรปธาน. ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้ละกามวิตกเป็นต้น ชื่อปหานปธาน.
ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญสัมโพชฌงค์ ชื่อภาวนาปธาน. ความเพียรที่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ตามรักษาสมาธินิมิต ชื่ออนุรักขนาปธาน. ในบทว่า

วิเวกนิสฺสิตํ เป็นอาทิ มีวินิจฉัยดังนี้ แม้บททั้ง 3 คือ วิเวก วิราคะ นิโรธ
เป็นชื่อของนิพพาน. แท้จริงนิพพาน ชื่อวิเวก เพราะสงัดจากอุปธิ ชื่อ
วิราคะ เพราะราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น จึงคลายไป. ชื่อนิโรธ เพราะ
ราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น ก็ดับไป เพราะฉะนั้น ในบทว่า วิเวกนิสฺสิตํ
เป็นอาทิ จึงมีความว่า อาศัยนิพพานโดยเป็นอารมณ์บ้าง โดยเป็นธรรมที่พึง
บรรลุบ้าง.
ในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ โวสสัคคะมี 2 คือ ปริจจาค-
โวสสัคคะ 1 ปักขันทนโวสสัคคะ 1.
ในสองอย่างนั้น วิปัสสนาชื่อ
ปริจจาคโวสสัคคะ เพราะสละราคะในกิเลสและขันธ์ ด้วยอำนาจตทังค-
ปหาน มรรค ชื่อปักขันทนโวสสัคคะ เพราะแล่นไปสู่นิพพานด้วยอำนาจ
อารมณ์. เพราะฉะนั้น ในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ จึงมีเนื้อความดังนี้ว่า
สติสัมโพชฌงค์ ที่ภิกษุเจริญอยู่โดยประการใด ย่อมน้อมไปเพื่อสละ ย่อมถึง
วิปัสสนาภาวนา และมัคคภาวนา ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดย
ประการ นั้น แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า ภทฺทกํ ได้แก่ ที่ได้แล้ว.
สมาธิที่ได้แล้ว ด้วยอำนาจอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น เรียกว่า สมาธินิมิต. บทว่า
อนุรกฺขติ ได้แก่ ทำราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ
ให้เหือดแห้งไปรักษาไว้. ก็สัญญา 5 มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น ตรัสไว้ในข้อนี้
แต่ในที่นี้ พึงกล่าวอสุภสัญญา 10 ให้พิสดารด้วย. ความพิสดารของอสุภสัญญา
นั้น กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
ในคาถา ท่านกล่าวความเพียรอย่างเดียวที่ให้สำเร็จสังวรเป็นต้น
โดยชื่อว่า สังวร. บทว่า ขยํ ทุกฺขสฺส ปาปุเณ คือพึงบรรลุพระอรหัต
กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์.
จบอรรถกถาสังวรสูตรที่ 4

5. บัญญัตติสูตร


ว่าด้วยอัครบัญญัติ 4


[15] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัครบัญญัติ (บัญญัติกันว่าเยี่ยมยอด)
4 นี้ อัครบัญญัติ 4 คืออะไร คือ ที่เยี่ยมยอดทางอัตภาพ (ตัวใหญ่ที่สุด)
ได้แก่อสุรินทราหู ที่เยี่ยมยอดทางบริโภคกาม ได้แก่พระเจ้ามันธาตุ ที่เยี่ยม
ยอดทางเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ได้แก่มารผู้มีบาป พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ปราชญ์กล่าวว่าเยี่ยมยอด ในโลกทั้งเทวโลกทั้งมารโลกทั้งพรหมโลก
ในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์ รวมทั้งสมณพราหมณ์ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล
อัครบัญญัติ 4.
ราหูเป็นเยี่ยมทางอัตภาพ พระเจ้า
มันธาตุเป็นเยี่ยมทางบริโภคกาม มารผู้
รุ่งเรื่องด้วยฤทธิ์ด้วยยศ เป็นเยี่ยมในทาง
เป็นใหญ่ พระพุทธเจ้า ปราชญ์กล่าวว่า
เป็นเยี่ยมยอดแห่งสัตว์โลกทั้งเทวดา ทั้ง
เบื้องสูง ท่ามกลาง เบื้องต่ำ ทุกภูมิโลก.

จบบัญญัตติสูตรที่ 5