เมนู

อรรถกถาปธานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปธานสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺมปฺปธานานิ ได้แก่ ความเพียรดี คือความเพียรสูงสุด.
บทว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ พระขีณาสพผู้มีความเพียรบริบูรณ์. บทว่า
มารเธยฺยาภิภูตา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ครอบงำข้ามแดนมาร คือ
เตภูมิกวัฎ. บทว่า เต อสิตา ได้แก่ พระขีณาสพทั้งหลายเป็นผู้อันกิเลส
ไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ชาติมรณภยสฺส ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความเกิดและความตาย หรือภัยกล่าวคือความเกิดและความตาย. บทว่า ปารคู
แปลว่า ถึงฝั่ง. บทว่า เต ตุสิตา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่า
ยินดีแล้ว. บทว่า เชตฺวา มารํ สวาหนํ ได้แก่ ชนะมารกับทั้งกองทัพ
อยู่แล้ว. บทว่า เต อเนชา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ไม่หวาดหวั่น
ด้วยความหวาดหวั่นคือตัณหา ชื่อว่า ไม่หวั่นไหว. บทว่า นมุจิพลํ แปลว่า
พลของมาร. บทว่า อุปาติวตฺตา แปลว่า ก้าวล่วง. บทว่า เต สุขิตา
ได้แก่ พระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่าความสุขด้วยโลกุตรสุข. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า
พระอรหันตทั้งหลายสุขจริงหนอ
ท่านไม่มีตัณหา ถอนอัสมิมานะได้เด็ดขาด
แล้ว ทำลายข่ายคือโมหะเสียแล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถาปธานสูตรที่ 3

4. สังวรสูตร


ว่าด้วยความเพียร 4


[14] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) 4 นี้ ปธาน 4
คืออะไร คือ สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน (เพียรละ) ภาวนาปธาน
(เพียรบำเพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้)
สังวรปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้ว
ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอา
โดยอนุพยัญชนะ อภิชฌาโทมนัส ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศล จะพึง
ไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุ
ความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น
เสียซึ่งอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันนั้น รักษาอินทรีย์ คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ นี้เรียกว่า สังวรปธาน.
ปหานปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่รับเอากามวิตก
พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละเสีย ถ่ายถอนเสีย ทำให้สิ้นไป
ให้หายไปเสีย นี้เรียกว่า ปหานปธาน.
ภาวนาปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เจริญสัมโพชฌงค์
คือ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา อันอิงวิเวก
อิงวิราคะ อิงนิโรธ น้อมไปในทางสละ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.