เมนู

ลิ้น กาย ใจอันนั้น รักษาอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า
ปฏิบัติข่มใจ
ปฏิบัติรำงับเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่รับเอากาม-
วิตกที่เกิดขึ้น ย่อมละเสีย ถ่ายถอนเสีย รำงับเสีย ทำให้หายสิ้นไปเสีย
ทำให้ไม่มีในภายหลังอีก ไม่รับเอาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ...วิหิงสา-
วิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ...อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่เกิด ๆ ขึ้นแล้วไว้ ละเสีย
ถ่ายถอนเสีย รำงับเสีย ทำให้หายสิ้นไปเสีย ทำให้ไม่มีในภายหลังอีก นี้เรียก
ว่า ปฏิบัติรำงับ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปฏิปทา 4.
จบปฐมขมสูตรที่ 4

อรรถกถาปฐมขมสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมขมสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อกฺขมา ได้แก่ ปฏิปทาของผู้ไม่อดทน. บทว่า ขมา ได้แก่
ปฏิปทาของผู้อดทน. บทว่า ทมา ได้แก่ ปฏิปทาของผู้ฝึกอินทรีย์. บทว่า
สมา ได้แก่ ปฏิปทาของผู้สงบอกุศลวิตก. บทว่า โรสนฺตํ ปฏิโรสติ
ได้แก่ เขากระทบ ย่อมกระทบตอบ. บทว่า ภณฺฑนฺตํ ปฏิภณฺฑติ ได้แก่
เขาประหาร ย่อมประหารตอบ.
จบอรรถกถาปฐมขมสูตรที่ 4

5. ทุติยขมสูตร


ว่าด้วยปฏิปทา 4


[165] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 นี้ ปฏิปทา 4 เป็นไฉน คือ
อกฺขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน
ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน
ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติข่มใจ
สมา ปฏิปทา ปฏิบัติรำงับ
ปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่ทนทานต่อ
หนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์
เสือกคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรง ไม่อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิด
ในร่างกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่นไม่ชื่นใจ พอที่จะปล้นชีวิต
เสียได้ นี้เรียกว่า ปฏิบัติไม่อดทน.
ปฏิบัติอดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้ทนทานต่อหนาว ร้อน
ฯลฯ ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรง อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในร่างกาย ฯลฯ
พอที่จะปล้นชีวิตเสียได้ นี้เรียกว่า ปฏิบัติอดทน
ปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว
ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ฯลฯ ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า ปฏิบัติข่มใจ
ปฏิบัติรำงับเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่รับเอากาม-
วิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก อกุศลบาปธรรมที่เกิด ๆ ขึ้นไว้ ฯลฯ ทำให้
ไม่มีในภายหลังอีก นี้เรียกว่า ปฏิบัติรำงับ.