เมนู

ปฏิปทาวรรคที่ 2

1. สังขิตตสูตร


ว่าด้วยปฏิปทา 4


[161] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 นี้ ปฏิปทา 4 เป็นไฉน
คือ
ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปฏิปทา 4.
จบสังขิตตสูตรที่ 1

อรรถกถาสังขิตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังขิตตสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า ปฏิบัติลำบาก เพราะปฏิเสธการปฏิบัติสะดวก ชื่อว่าปฏิปทา
เพราะควรปฏิบัติ. ชื่อว่า ทันธาภิญญา เพราะมีความรู้ได้ช้า โดยความเป็น
ของหนัก เพราะปฏิบัติได้ไม่เร็ว. พึงทราบความแม้ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
จบอรรถกถาสังขิตตสูตรที่ 1

2. วิตถารสูตร


ว่าด้วยปฏิปทา 4


[162] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 นี้ ฯลฯ คือ
ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปปาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคน
มีราคะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน
มีโทสะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน
มีโมหะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิด เพราะโมหะเนือง ๆ บ้าง อินทรีย์ 5
คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาก็อ่อน เพราะอินทรีย์ 5 นี้อ่อน
เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก
ทั้งรู้ได้ช้า

ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็วเป็นไฉน บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคน
มีราคะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน
มีโทสะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน
มีโมหะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะเนือง ๆ บ้าง แต่อินทรีย์ 5
คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาแก่กล้า เพราะอินทรีย์ 5 นี้
แก่กล้า เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่า
ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว