เมนู

ภิกษุพึงเป็นสำรวม ยินสำรวม นั่ง
สำรวม นอนสำรวม คู้อวัยวะเข้าก็สำรวม
เหยียดอวัยวะออกก็สำรวม พิจารณาดู
ความเกิดขึ้นความเสื่อมไปแห่งธรรมและ
ขันธ์ทั้งหลาย ในเบืองบน ท่ามกกลาง
เบื้องล่าง ทุกภูมิโลก บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวภิกษุผู้ศึกษา ปฏิปทาอันสมควรแก่
ความสงบใจ มีสติทุกเมื่อเข้ารุ
ใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.

จบสีลสูตรที่ 2

อรรถกถาสีลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เธอทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์. บทว่า
สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ได้แก่มีปาติโมกข์บริบูรณ์. บทว่า ปาติโมกฺขสํวร-
สํวุตา
ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมปิดประกอบด้วยปาติโมกขสังวร-
ศีลอยู่เถิด. บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺนา ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้
ถึงพร้อม คือประกอบด้วยอาจาระและโคจรเถิด . บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ
ได้แก่ ในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย. บทว่า ภยทสฺสาวิโน ความว่า
เป็นผู้มีปรกติเห็นโทษที่มีประมาณน้อยเหล่านั้นโดยเป็นภัย. บทว่า สมาทาย

สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ ความว่า เธอทั้งหลายจงสมาทานยึดถือสิกขาบทที่ควร
สมาทานนั้น ๆ ในส่วนแห่งสิกขาทั้งหมดศึกษาอยู่. ครั้นทรงชักชวนและตรัส
สรรเสริญในคุณที่ได้แล้ว ด้วยการตรัสธรรมประมาณเท่านี้ว่า สมฺปนฺนสีลานํ
ฯเปฯ สิกฺขาปเทสุ
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงประโยชน์อันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป
จึงตรัสว่า กิมสฺส ดังนี้เป็นต้น. ในบทนั้น บทว่า กิมสฺส แปลว่า
จะพึงมีอะไรเล่า.
บทว่า ยตํ จเร ความว่า ภิกษุพึงเดินอย่างที่เดินสำรวมระวัง.
ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อจฺเฉ แปลว่า พึงนั่ง. บทว่า ยตเมตํ ปสารเย
ความว่า พึงเหยียดอวัยวะน้อยใหญ่อย่างสำรวมคือเรียบร้อย. บทว่า อุทฺธํ
แปลว่า เบื้องบน. บทว่า ติริยํ แปลว่า เบื้องกลาง ( วาง) บทว่า อปาจีนํ
แปลว่า เบื้องล่าง. เบญจขันธ์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตรัสด้วย
เหตุประมาณเท่านี้. คำว่า ยาวตา เป็นคำที่แสดงความกำหนด. บทว่า
ชคโต คติ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งโลก. บทว่า สมเวกฺขิตา จ ธมฺมานํ
ขนธานํ อุทยพฺพยํ
ความว่า พิจารณาดูความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปแห่ง
ธรรม คือ เบญจขันธ์ที่ต่างด้วยอดีตเป็นต้นเหล่านั้น ในโลกทั้งปวง คือได้
พิจารณาเห็นโดยชอบด้วยลักษณะ 50 ถ้วนที่ท่านกล่าวว่า เมื่อเห็นความเกิด
แห่งเบญจขันธ์ก็พิจารณาเห็นลักษณะ 25 ได้. เมื่อเห็นความเสื่อมก็พิจารณา
เห็นลักษณะ 25 ได้. บทว่า เจโตสมถสามีจึ ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่สมควร
แก่ความสงบจิต. บทว่า สิกฺขมานํ ความว่า เมื่อปฏิบัติ คือ บำเพ็ญอยู่.
บทว่า ปหิตตฺโต ได้แก่ มีใจเด็ดเดี่ยว. บทว่า อาหุ แปลว่า กล่าวอยู่.
บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ตรัสคละกันกับศีล ในคาถาตรัสถึง
ภิกษุผู้ขีณาสพ.
จบอรรถกถาสีลสูตรที่ 2

3. ปธานสูตร


ว่าด้วยสัมมัปปธาน 4


[13] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) 4 นี้
สัมมัปปธาน 4 คืออะไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ
ยังอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
2. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ
ละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว
3. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ
ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
4. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ
ให้กุศลธรรมที่เกิดแล้วคงอยู่ไม่เลือนหายไป ให้ภิยโยภาพไพบูลเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สัมมัปปธาน 4.
ภิกษุเหล่านั้นมีความเพียรชอบย่อม
ครอบงำเสียได้ซึ่งแดนมาร ภิกษุเหล่านั้น
เป็นผู้อันกิเลสไม่อาศัย แล้วพ้นภัย คือ เกิด
ตายแล้ว ถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ภิกษุ
เหล่านั้นสบายใจ ชนะมารกับทั้งพล-
พาหนะมารแล้ว ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่
หวั่นไหว ล่วงเสียซึ่งมารและพลมาร
ทั้งปวง ถึงซึ่งความสุข.

จบปธานสูตรที่ 3