เมนู

10. สารสูตร


ว่าด้วยสาระ 4 ประการ


[150] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาระ 4 นี้ ฯลฯ คือ สีลสาระ
สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ
นี้แล สาระ 4 ประการ.
จบสารสูตรที่ 10
จบอาภาวรรคที่ 5
จบตติยปัณณาสก์

อรรถกถาสารสูตร


สารสูตรที่ 10 บทว่า สีลสาโร คือศีลที่ให้ถึงสาระ. แม้ในบทที่เหลือ
ก็นัยนี้แล.
จบอรรถกถาสารสูตรที่ 10
จบอาภาวรรควรรณนาที่ 5
จบตติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ลาภาสูตร 2. ปภาสูตร 3. อาโลกสูตร 4.โอภาสสูตร
5. ปัชโชตสูตร 6. ปฐมกาลสูตร 7. ทุติยกาลสูตร 8. ปฐมจริตสูตร
9. ทุติยจริตสูตร 10. สารสูตร และอรรถกถา.

จตุตถปัณณาสก์

อินทริยวรรคที่ 1

1. อินทริยสูตร


ว่าด้วยอินทรีย์ 4 ประการ


[151] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 4 ประการนี้ ฯลฯ คือ
สทฺธินฺทฺริยํ อินทรีย์คือศรัทธา
วิริยินฺทฺริยํ อินทรีย์คือวิริยะ
สมาธินฺทฺริยํ อินทรีย์คือสมาธิ
ปญฺญินฺทฺริยํ อินทรีย์คือปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อินทรีย์ 4.
จบอินทริยสูตรที่ 1

จตุตถปัณณาสก์
อินทริยวรรควรรณนาที่ 1

อรรถกถาอินทริยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยสูตรที่ 1 แห่งปัณณาสก์ที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในสัทธาธุระ. แม้
ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.
จบอรรถกถาอินทริยสูตรที่ 1