เมนู

ปุคคลวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาสังโยชนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลบางคนได้อุปบัติได้ภพ ในระหว่างด้วยสังโยชน์เหล่าใด
สังโยชน์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยให้ได้อุปบัติ. บทว่า ภวปฏิลาภิยานิ
ได้แก่ เป็นปัจจัยแก่การได้อุปบัติภพ. บทว่า สกทาคามิสฺส นี้ ท่านถือ
โดยส่วนสูงสุดในพระอริยะทั้งหลาย ที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ ก็เพราะเหตุนี้
อันตราอุปบัติ (การเกิดในระหว่าง) ของพระอริยบุคคลผู้เป็นอันตรา-
ปรินิพพายีไม่มี แต่ท่านเข้าฌานใดในที่นั้น ฌานนั้นนับว่าเป็นปัจจัยแก่
อุปบัติภพ เพราะฌานเป็นฝ่ายกุศลธรรม ฉะนั้น จึงตรัสสำหรับพระอริยบุคคล
ผู้เป็นอันตราปรินิพพายีนั้นว่า ละอุปบัติปฏิลาภิยสังโยชน์ได้ (สังโยชน์ที่เป็น
เหตุให้มีความเกิด) แต่ละภวปฎิลาภิยสังโยชน์ (สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้มีภพ)
ไม่ได้. หมายถึงสังโยชน์ส่วนที่ยังละไม่ได้ในโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งหลาย จึง
ตรัสว่า ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ดังนี้ โดยความไม่ต่างกันแห่งสกทาคามี
บุคคล. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ 1

2. ปฏิภาณสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[132] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากกอยู่ในโลก 4
จำพวก เป็นไฉน คือ
ยุตฺตปฏิภาโณ น มุตฺตปฏิภาโณ บุคคลฉลาดผูก ไม่ฉลาดแก้
มุตฺตปฏิภาโณ น ยุตฺตปฏิภาโณ บุคคลฉลาดแก้ ไม่ฉลาดผู้
ยุตฺตปฏิภาโณ จ มุตฺตปฏิภาโณ จ บุคคลฉลาดทั้งผูกทั้งแก้
เนว ยุตฺตปฏิภาโณ น มุตฺตปฏิภาโณ บุคคลไม่ฉลาดทั้งผูกทั้งแก้
นี้แล บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบปฏิภาณสูตรที่ 2

อรรถกถาปฏิภาณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฏิภาณสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยุตฺตปฏิภาโณ โน มุตฺตปฏิภาโณ ความว่า บุคคล
เมื่อแก้ปัญหาก็แก้แต่ปัญหาที่ผูกเท่านั้น แต่แก้ได้ไม่เร็ว คือค่อย ๆ แก้. บท
ทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
จบอรรถกถาปฏิภาณสูตรที่ 2