เมนู

อรรถกถาสังเวชนียสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังเวชนียสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทสฺสนียานิ แปลว่า ที่ควรเห็น. บทว่า สํเวชนียานิ
ได้แก่ สถานที่ให้เกิดความสังเวช.
จบอรรถกถาสังเวชนียสูตรที่ 8

9. ปฐมภยสูตร


ว่าด้วยภัย 4 ประการ


[119] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย (สิ่งที่น่ากลัว) 4 ประการนี้ ภัย 4
ประการเป็นไฉน คือ ชาติภัย 1 ชราภัย 1 พยาธิภัย 1 มรณภัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล ภัย 4 ประการ.
จบปฐมภยสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมภยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมภยสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
ภัยที่ปรารภชาติเกิดขึ้น ชื่อว่า ชาติภัย. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมภยสูตรที่ 9

10. ทุติยภยสูตร


ว่าด้วยภัย 4 ประการ


[120] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้ ภัย 4 ประการ
เป็นไฉน คือ อัคคีภัย 1 อุทกภัย 1 ราชภัย 1 โจรภัย 1 นี้แลภัย
4 ประการ.
จบทุติยภยสูตรที่ 10
จบเกสีวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. เกสีสูตร 2. ชวสูตร 3. ปโตทสูตร 4 . นาคสูตร 5. ฐาน-
สูตร 6. อัปปมาทสูตร 7 อารักขสูตร 8. สังเวชนียสูตร 9. ปฐมภย-
สูตร 10. ทุติยภยสูตร และอรรถกถา.