เมนู

ทิฏฐิโยคะ และทำลายอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นก็เป็นผู้ปลอดโปร่งจากโยคะ
ทั้งปวง เป็นมุนีผู้ข้ามพ้นเครื่องผูกแล.

จบโยคสูตรที่ 10
จบภัณฑคามวรรคที่ 1

อรรถกถาโยคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโยคสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
กิเลสชื่อว่า โยคะ เพราะผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. ในบทว่า กามโยโค
เป็นอาทิ ความกำหนัดประกอบด้วยกามคุณ 5 ชื่อว่า กามโยคะ. ความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า ภวโยคะ. ความ
ติดใจในฌานก็อย่างนั้น. ราคะประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และทิฏฐิ 62 ชื่อว่า
ทิฏฐิโยคะ. ความไม่รู้ในสัจจะ 4 ชื่อว่า อวิชชาโยคะ อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า กามโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในกามะ ชื่อว่า ภวโยคะ เพราะ
ประกอบสัตว์ไว้ในภพ. ชื่อว่า ทิฏฐิโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในทิฏฐิ.
ชื่อว่า อวิชชาโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในอวิชชา คำดังกล่าวมานี้ เป็นชื่อ
ของธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง ขยายธรรมเหล่านั้น
ให้พิสดาร จึงตรัสว่า กตโม จ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สมุทยํ คือความเกิด. บทว่า อตฺถงฺคมํ คือความดับ. บทว่า
อสฺสาทํ คือ ความชุ่มชื่น. บทว่า อาทีนวํ คือ โทษที่มิใช่ความชุ่มชื่น.
บทว่า นิสฺสรณํ คือความออกไป.

บทว่า กาเมสุ คือ ในวัตถุกาม. บทว่า กามราโค คือราคะ
เกิดเพราะปรารภกาม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า อนุเสติ คือ
บังเกิด. พึงทราบเนื้อความในบททุกบทอย่างนี้ว่า บทว่า อยํ วุจฺจติ
ภิกฺขเว กามโยโค
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า เหตุแห่งการ
ประกอบเครื่องผูกสัตว์ไว้ในกาม. บทว่า ผสฺสายตนานํ ได้แก่ เหตุมีจักขุ-
สัมผัสเป็นต้น สำหรับอายตนะทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น. บทว่า อวิชฺชา
อญฺญานํ
ความว่า อวิชชาคือความไม่รู้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้
อิติศัพท์ ในบทนี้ว่า อิติกามโยโค พึงประกอบกับโยคะแม้ทั้ง 4 ว่า
กามโยคะดังนี้ ภวโยคะ ดังนี้เป็นต้น
บทว่า สมฺปยุตตฺโต ได้แก่ ผู้ห้อมล้อมแล้ว. บทว่า ปาปเกหิ
ได้แก่ ที่ลามก. บทว่า อกุสเลหิ ได้แก่ เกิดแต่ความไม่ฉลาด. บทว่า
สงฺกิเลสิเกหิ คือมีความเศร้าหมอง อธิบายว่า ประทุษร้ายความผ่องใส
แห่งจิตที่ผ่องใสแล้ว. บทว่า โปโนพฺภวิเกหิ ได้แก่ เป็นเหตุให้เกิดใน
ภพใหม่. บทว่า สทเรหิ ได้แก่ มีความเร่าร้อน. บทว่า ทุกฺขวิปาเกหิ
ได้แก่ ให้ทุกข์เกิดขึ้นในเวลาให้ผล. บทว่า อายตึชาติชรามรณิเกหิ ได้แก่
ให้เกิดชาติ ชรา มรณะในอนาคตบ่อย ๆ. บทว่า ตสฺมา อโยคกฺเขมีติ
วุจฺจติ
ความว่า ก็เพราะเหตุที่บุคคลผู้ละโยคะยังไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อโยคักเขมี ไม่เกษมจากโยคะเพราะ
เขายังไม่บรรลุพระนิพพานอันเกษมจากโยคะ 4 เหล่านั้น.
บทว่า วิสํโยคา คือเหตุแห่งความคลายโยคะกิเลสเครื่องผูก. บทว่า
กามโยควิสํโยโค คือเหตุแห่งความคลายกามโยคะ. แม้ในบทที่เหลือก็มี
นัยนี้แล. บรรดาบทเหล่านั้น การเพ่งอสุภกัมมัฏฐาน เป็นการคลายกามโยคะ

อนาคามิมรรคทำอสุภฌานนั้นให้เป็นบาทแล้วบรรลุ ชื่อว่า คลายกามโยคะ
โดยส่วนเดียวแท้. อรหัตมรรค ชื่อว่า คลายภวโยคะ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
คลายทิฏฐิโยคะ อรหัตมรรค ชื่อว่า คลายอวิชชาโยคะ. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง
ขยายวิสังโยคธรรมเหล่านั้นให้พิสดาร จึงตรัสว่า กตโม จ ภิกฺขเว เป็นอาทิ.
ความแห่งพระดำรัสนั้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้ว. บทว่า ภวโยเคน
จูภยํ
ความว่า ผูกไว้ด้วยภวโยคะ และผูกไว้ด้วยภวโยคะทิฏฐิโยคะแม้ทั้ง-
สองยิ่งขึ้นอีก คือประกอบด้วยโยคะอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปุรกฺขตา ได้แก่
ถูกนำไว้ข้างหน้า หรือถูกแวดล้อม. บทว่า กาเม ปริญฺญาย ได้แก่ กำหนด
รู้กามแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า ภวโยคญฺจ สพฺพโส ได้แก่ กำหนดรู้ภวโยคะ
ทั้งหมดนั่นแล. บทว่า สมูหจฺจ ได้แก่ ถอนหมดแล้ว. บทว่า วิราชยํ
ได้แก่ กำลังคลายหรือคลายแล้ว. ก็เมื่อกล่าวว่า วิราเชนฺโต ก็เป็นอัน
กล่าวถึงมรรค เมื่อกล่าวว่า วิราเชตฺวา ก็เป็นอันกล่าวถึงผล. บทว่า มุนิ
ได้แก่ พระมุนีคือพระขีณาสพ. ดังนั้น ในสูตรนี้ก็ดี ในคาถาก็ดี จึงตรัส
ทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) แล.
จบอรรถกถาโยคสูตรที่ 10
จบภัณฑคามวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในภัณฑคามวรรคนี้ คือ


1. อนุพุทธสูตร 2. ปปติตสูตร 3. ปฐมขตสูตร 4. ทุติยขต-
สูตร 5. อนุโสตสูตร 6. อัปปสุตสูตร 7. สังฆโสภณสูตร 8. เวสา-
รัชชสูตร 9. ตัณหาสูตร 10. โยคสูตร และอรรถกถา.