เมนู

บุคคลใดที่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจใน
ภายใน บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนาแล้วทำการประกอบ
ความเพียรในความสงบใจในภายใน ต่อไป บุคคลนั้นก็ย่อมจะได้ทั้งอธิปัญญา
และธัมมวิปัสสนา ทั้งความสงบใจในภายใน
บุคคลใดที่ไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมม-
วิปัสสนา บุคคลนั้นควรกระทำฉันทะ พยายาม อุตสาหะ พากเพียรอย่าง
แข็งขัน ไม่ท้อถอย และทำสติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมทั้ง 2
นั้นจงได้ เปรียบเหมือนคนที่ไฟไหม้ผ้าก็ดี ไหม้ศีรษะก็ดี พึงกระทำฉันทะ
พยายาม อุตสาหะ พากเพียร ไม่เฉื่อยเฉย และตั้งสติสัมปชัญญะอันยิ่ง
เพื่อจะดับเสียซึ่งผ้าหรือศีรษะ (ที่ไหม้อยู่นั้น) ฉันใด บุคคลนั้นก็ควรกระทำ
ฉันทะ พยายาม อุตสาหะ พากเพียร อย่างแข็งขัน ไม่ท้อถอย และทำสติ
สัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมทั้ง 2 นั้นจงได้ฉันนั้น ต่อไป บุคคล
นั้นก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา
บุคคลใดที่ได้ทั้งความสงบใจในภายในทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา
บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง 2 นั้น แล้วทำการประกอบความเพียร
เพื่อความสิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบทุติยสมาธิสูตรที่ 3

อรรถกถาทุติยสมาธิสูตร


พึงทราบ วินิจฉัยในทุติยสมาธิสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยโค กรณีโย ความว่า พึงทำความประกอบขวนขวาย.
บทว่า ฉนฺโท คือกัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจใคร่จะทำ. บทว่า วายาโม

คือความเพียร. บทว่า อุสฺสาโห คือความเพียรยิ่งกว่าวายามะนั้น บทว่า
อุสฺโสฬฺหี ความว่า ความเพียรมาก เสมือนยกเกวียนที่ติดหล่ม. บทว่า
อปฺปฏิวานี ได้แก่ ไม่ถอยกลับ.
จบอรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ 3

4. ตติยสมาธิสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก ที่ 3


[94] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล
บางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและ
ธัมมวิปัสสนา ฯลฯ บางคนได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและ
ธัมมวิปัสสนา
ในบุคคล 4 จำพวกนั้น บุคคลใดที่ได้ความสงบใจในภายใน แต่
ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้อธิปัญญา
และธัมมวิปัสสนาแล้วได้ถามว่า สังขารทั้งหลาย จะพึงเห็นอย่างไร จะพึง
กำหนดอย่างไร จะพึงเห็นแจ้งอย่างไร บุคคลผู้ได้อธิปัญญาและธัมม-
วิปัสสนา ย่อมจะกล่าวแก้แก่บุคคลนั้นตามที่ตนเห็นตามที่ตนรู้ว่า สังขาร
ทั้งหลายพึงเห็นอย่างนี้ พึงกำหนดเอาอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งอย่างนี้ ต่อไป
บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา
บุคคลใดที่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจใน
ภายใน บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบใจในภายใน แล้วได้ถาม
ว่าจิตจะพึงดำรงไว้อย่างไร พึงน้อมไปอย่างไร พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างไร