เมนู

อรรถกถาปุตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปุตตสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมณมจโล ได้แก่ สมณะไม่หวั่นไหว. อักษรทำบท-
สนธิต่อบท. อธิบายว่า นิจจลสมณะ. ทรงแสดงพระเสขะแม้ 7 จำพวกด้วย
บทนี้. พระเสขะนั้น ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะท่านตั้งมั่นด้วยศรัทธาอันเป็น
มูลในพระศาสนา. บทว่า สมณปุณฺฑริโก ได้เเก่ สมณะดังบัวขาว. ธรรมดา
บัวขาวเกิดในสระมีใบ 99 ใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพสุกวิปัสสกผู้บำเพ็ญ
วิปัสสนาล้วนด้วยบทนี้. ด้วยว่าพระขีณาสพสุกขวิปัสสกนั้น ชื่อว่าสมณะดัง
บัวขาว เพราะท่านมีคุณยังไม่บริบูรณ์ โดยที่ฌานและอภิญญาไม่มี. บทว่า
สมณปทุโม ได้แก่ สมณะดังบัวหลวง. ธรรมดาบัวหลวง เกิดในสระมี
ใบครบร้อยใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุตด้วยบทนี้. ด้วยว่า
พระขีณาสพอุภโตภาควิมุตนั้น ชื่อว่าสมณะดังบัวหลวง เพราะท่านมีคุณ
บริบูรณ์โดยที่มีฌานและอภิญญา. บทว่า สมเณสุ สมณสุขุมาโล ความว่า
บรรดาสมณะเหล่านั้นแม้ทั้งหมด สมณะสุขุมาลเป็นผู้มีกายและจิตอ่อนโยน
เว้นความทุกข์ทางกายและทางจิต เป็นผู้มีสุขโดยส่วนเดียว. ทรงแสดงพระองค์
และสมณะสุขุมาลเช่นกับพระองค์ ด้วยบทว่า สุขุมาลสมโณ นั้น.
ครั้นทรงตั้งมาติกาหัวข้ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกไปตาม
ลำดับ จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เสกฺโข
ได้แก่ พระเสขะ 7 จำพวก. บทว่า ปฏิปโท ได้แก่ เป็นผู้ยังต้องปฏิบัติ.
บทว่า อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ ปฏฺฐยมาโน วิหรติ ความว่า กำลังปรารถนา
พระอรหัต. บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส ความว่า เป็นผู้ได้รับน้ำรดบนพระ-