เมนู

อรรถกถาวณิชชสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวณิชชสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตาทิสาว ความว่า การค้าขายเช่นเดียวกันนั้น คือ คล้าย
กันนั้น. บทว่า เฉทคามินี โหติ คือขาดทุน. อธิบายว่า ผลกำไรที่
ปรารถนาสูญเสียหมด. บทว่า น ยถาธิปฺปายา โหติ ความว่า ได้ผลกำไร
ไม่เท่าที่มุ่งหมาย. บทว่า ปราธิปฺปายา โหติ ความว่า ได้ผลกำไรเกิน
คือ เกินกว่าที่ตนประสงค์. ในบทว่า สมณํ วา พฺราหฺมณํ วา นี้
พึงทราบว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์เพราะมีบาปสงบแล้ว มีบาปอันลอยแล้ว.
บทว่า วท ภนฺเต ปจฺจเยน ความว่า ย่อมปวารณา คือนิมนต์อย่างนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพึงขอปัจจัย 4 อย่างมีจีวรเป็นต้นได้. บทว่า เยน
ปวาเรติ
ความว่า เขาย่อมปวารณากำหนดไว้ด้วยปัจจัยใด. บทว่า ตํ น
เทติ
ความว่า เขาไม่ถวายปัจจัยนั้นทุกประการ. บทว่า ตํ น ยถาธิปฺปายํ
เทติ
ความว่า เขาย่อมไม่สามารถจะถวายปัจจัยนั้นตามที่สมณพราหมณ์นั้น
ประสงค์ คือ ถวายลดน้อยลง. บทว่า ยถาธิปฺปายํ เทติ ความว่า
สมณพราหมณ์นั้น ย่อมปรารถนาปัจจัยเท่าใด เขาก็ถวายปัจจัยเท่านั้น. บทว่า
ปราธิปฺปายํ เทติ ความว่า เขาปวารณาปัจจัยไว้น้อยแต่ถวายมากกว่า.
จบอรรถกถาวณิชชสูตรที่ 9

10. กัมโมชสูตร


ว่าด้วยมาตุคาม


[80] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ โฆสิตาราม
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ได้ทูล
ถามว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย พระพุทธเจ้าข้า มาตุคามจึงไม่นั่งใน
สภา ไม่ประกอบการงานใหญ่ ไม่ได้ไปนอกเมือง
พ. ตรัสตอบว่า อานนท์ มาตุคามเป็นผู้มักโกรธ มาตุคามเป็นผู้
มักริษยา มาตุคามเป็นผู้มักตระหนี่ มาตุคามเป็นผู้ทรามปัญญา อานนท์
นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มาตุคามไม่นั่งในสภา ไม่ประกอบการงานใหญ่
ไม่ได้ไปนอกเมือง.
จบกัมโมชสูตรที่ 10
จบอปัณณกวรรคที่ 3

อรรถกถากัมโมชสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกัมโมชสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เนว สภายํ นิสีทติ ความว่า มาตุคามย่อมไม่นั่งในสภา-
วินิจฉัย เพื่อทำการวินิจฉัย. บทว่า น กมฺมนฺตํ ปโยเชติ ความว่า ไม่
ประกอบการงานใหญ่มีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น . บทว่า น กมฺโพชํ
คจฺฉติ
ความว่า ไม่ไปสู่แคว้นกัมโพชเพื่อรวบรวมโภคทรัพย์. ก็คำนั้น