เมนู

ไซร้ ประชาชนนอกนี้ ก็จะประพฤติไม่
เป็นธรรมด้วย ถ้าพระราชาไม่ตั้งอยู่ใน
ธรรม รัฐทั้งปวงก็ยากเข็ญ.
เนื้อฝูงโคข้ามฟากอยู่ ถ้าโคโจกตัว
นำฝูงไปตรง โคนอกนั้นก็ไปตรงตามกัน
ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับ
สมมติให้เป็นใหญ่ ประพฤติเป็นธรรมไซร้
ประชาชนนอกนี้ ย่อมประพฤติเป็นธรรม
ด้วย ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐ
ทั้งปวงก็อยู่เป็นสุข.

จบธัมมิกสูตรที่ 10
จบปัตตกัมมวรรคที่ 2

อรรถกถาธัมมิกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในธัมมิกสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อธมฺมิกา โหนฺติ ความว่า พระราชาทั้งหลายประพฤติ
ไม่เป็นธรรมโดยไม่เก็บส่วย 10 ส่วน และไม่ลงโทษ ตามสมควรแก่ความผิด
ซึ่งพระราชาเก่าก่อนทรงตั้งไว้แล้ว เก็บส่วยเกินพิกัด และลงโทษเกินกำหนด

บทว่า ราชยุตฺตา ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ทำราชการอยู่ในชนบทของ
พระราชา. บทว่า พฺราหฺมณคหปติกา ได้แก่ พราหมณ์และคฤหบดี
ทั้งหลายผู้อยู่ภายในเมือง. บทว่า เนคมชานปทา ได้แก่ ชาวนิคม และ
ชาวชนบท. บทว่า วิสมํ ความว่า ลมก็ผันแปรไป ไม่ถูกตามฤดู. บทว่า
วิสมา ความว่า ลมพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงเกินไปบ้าง พัดอ่อนเกินไปบ้าง.
บทว่า อปญฺชสา ได้แก่ ลมนอกทาง พัดออกนอกทางไป. บทว่า เทวดา
ปริกุปฺปิตา ภวนฺติ
ความว่า ด้วยว่าเมื่อลมนอกทางพัดไม่สม่ำเสมอ ต้นไม้
ทั้งหลายก็หัก วิมานก็พังทะลาย เพราะฉะนั้น พวกเทวดาก็ปั่นป่วน. เทวดา
เหล่านั้นจึงไม่ยอมให้ฝนตกตามฤดูกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ฝนก็ไม่ตก
ตามฤดูกาล. บทว่า วิสมปากีนิ สสฺสานิ ภวนฺติ ความว่า ข้าวกล้า
ทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกันอย่างนี้คือ ในที่แห่งหนึ่งตั้งท้อง ในที่แห่งหนึ่ง
เกิดน้ำนม แต่ที่แห่งหนึ่งแก่ ดังนี้.
บทว่า สมํ นกฺขตฺตานิ ตารกรูปานิ ปริวตฺตนฺติ ความว่า
ดาวนักษัตรทั้งหลายย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอเหมือนวันเพ็ญนั้น ได้นักษัตร
นั้น ๆในเดือนนั้นอย่างนี้ว่า วันเพ็ญเดือน 12 ได้นักษัตรในเดือน 12 เท่านั้น
วันเพ็ญเดือนอ้าย ได้นักษัตรในเดือนอ้ายเท่านั้นฉะนั้น. บทว่า สมํ วาตา
วายนฺติ
ความว่า ลมทั้งหลายมิใช่พัดไม่สม่ำเสมอพัดในฤดูกาลเท่านั้น ย่อม
พัดในฤดูอันเหมาะแก่ชนบทเหล่านั้น ๆ อย่างนี้ คือ ลมเหนือพัด 6 เดือน
ลมใต้พัด 6 เดือน. บทว่า สมา ความว่า ลมพัดต่ำเสมอ ไม่แรงเกินไป
ไม่อ่อนเกินไป. บทว่า ปญฺชสา ได้แก่ ลมที่พัดในทาง ย่อมพัดตามทาง
นั่นเอง หาใช่พัดโดยมิใช่ทางไม่.

บทว่า ชิมฺหํ คจฺฉติ แปลว่า เดินไปคด คือ ย่อมถือเอาแต่ที่
มิใช่ท่า. บทว่า เนตฺเต ชิมฺหํ คเต สติ ได้แก่ โคชื่อว่าเนตตา เพราะ
นำไป. อธิบายว่า เมื่อโคตัวนำเดินไปคด ถือเอาแต่ที่มิใช่ท่า โคแม้นอกนี้
ย่อมถือเอาแต่ที่มิใช่ท่าตามกัน ไป. ปาฐะว่า เนนฺเต ดังนี้ก็มี. บทว่า ทุกฺขํ
เสติ
แปลว่า ย่อมนอนเป็นทุกข์ อธิบายว่า ประสบทุกข์แล้ว.
จบอรรถกาธัมมิกสูตรที่ 10
จบปัตตกัมวรรควรรณนาที่ 2
พระสูตรปนกับคาถา จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปัตตกัมมสูตร 2. อันนนาถสูตร 3. สพรหมสูตร 4. นิรย-
สูตร 5. รูปสูตร 6. สราคสูตร 7. อหิสูตร 8. เทวทัตตสูตร 9.
ปธานสูตร 10. ธัมมิกสูตร และอรรถกถา.