เมนู

เสียจนรอบ คนโง่นั้นจึงถูกเสียงกึกก้อง
พัดพาไปได้.
บุคคลใดไม่รู้ภายใน แต่เห็นภาย-
นอก เห็นแต่ผล (คือลาภสักการที่ผู้นั้นได้)
ในภายนอก แม้บุคคลนั้นก็ยังจะถูกเสียง
กึกก้องพัดพาไปได้.
บุคคลใดทั้งรู้ภายในทั้งเห็นภายนอก
เห็นแจ้งไม่มีอะไรเป็นเครื่องปิดบัง บุคคล
นั้นย่อมไม่ถูกเสียงกึกก้องพัดพาไป.

จบรูปสูตรที่ 5

อรรถกถารูปสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในรูปสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลถือประมาณในรูปแล้วเลื่อมใส ชื่อรูปัปปมาณ. บทว่ารูปปฺป-
สนฺโน
เป็นไวพจน์ความของบท รูปปฺปมาโณ นั้น. บุคคลถือประมาณ
ในเสียงกึกก้องแล้วเลื่อมใส ชื่อโฆสัปปมาณ. บุคคลถือประมาณในความ
ปรากฏของจีวรและบาตรแล้วเลื่อมใส ชื่อลูขัปปมาณ. บุคคลถือประมาณ
ในธรรมแล้ว เลื่อมใส ชื่อธัมมัปปมาณ. บทนอกจากนี้ เป็นไวพจน์ความ
ของบทเหล่านั้นนั่นแล เพราะแบ่งสรรพสัตว์ออกเป็นสามส่วน สองส่วน
ถือรูปเป็นประมาณ. ส่วนหนึ่ง ไม่ถือรูปเป็นประมาณ. เพราะแบ่งสรรพสัตว์
ออกเป็นห้าส่วน สี่ส่วน ถือเสียงกึกก้องเป็นประมาณ ส่วนหนึ่งไม่ถือเสียง

กึกก้องเป็นประมาณ. เพราะแบ่งสรรพสัตว์ออกเป็น 10 ส่วน เก้าส่วน ถือ
ความปอนเป็นประมาณ ส่วนหนึ่งไม่ถือความปอนเป็นประมาณ. แต่เมื่อแบ่ง
สรรพสัตว์ออกเป็นแสนส่วน ส่วนเดียวเท่านั้น ถือธรรมเป็นประมาณ ที่เหลือ
พึงทราบว่า ไม่ถือธรรมเป็นประมาณ ดังนี้.
บทว่า รูเปน ปามึสุ ความว่า บุคคลเหล่าใดเห็นรูปแล้วเลื่อมใส
บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าถือรูปเป็นประมาณ อธิบายว่า นับถือแล้ว. บทว่า
โฆเสน อนฺวคู ความว่า บุคคลเหล่าใดไหลไปตามเสียงกึกก้อง อธิบายว่า
บุคคลเหล่านั้นถือเสียงกึกก้องเป็นประมาณแล้วจึงเลื่อมใส. บทว่า ฉนฺทรา-
ควสูเปตา
ได้แก่ ตกอยู่ในอำนาจความพอใจ และรักใคร่เสียแล้ว . บทว่า
อชฺฌตฺตญฺจ น ชานาติ ความว่า คนโง่ ย่อมไม่รู้จักคุณข้างในของเขา.
บทว่า พหิทฺธา จ น ปสฺสติ ความว่า ย่อมไม่เห็นข้อปฏิบัติข้างนอก
ของเขา. บทว่า สมนฺตาวรโณ ได้แก่ ถูกเสียงปิดบังเสียจนรอบ. อีก-
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมันตาวรณะ เพราะเสียงกั้นไว้รอบ. บทว่า โฆเสน วุยฺหติ
ความว่า คนโง่นั้น จึงถูกเสียงกึกก้องชักนำไป หาใช่ถูกคุณนำไปไม่. บทว่า
อชฺฌตฺตญฺจ น ชานาติ พหิทฺธา จ วิปสฺสติ ความว่า บุคคลไม่รู้
คุณข้างใน แต่เห็นการปฏิบัติข้างนอกของเขา. บทว่า พหิทฺธา ผลทสฺสาวี
ความว่า เห็นผลสักการะข้างนอกที่บุคคลอื่นทำแก่เขา. บทว่า วินีวรณทสฺสาวี
ความว่า เห็นอย่างไม่มีอะไรปิดบัง. บทว่า น โส โฆเสน วุยฺหติ
ความว่า บุคคลนั้นจึงไม่ถูกเสียงกึกก้องชักนำไป.
จบอรรถกถารูปสูตรที่ 5

6. สราคสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[66] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกคือใคร คือ
สราโค บุคคลมีราคะ
สโทโส บุคคลมีโทสะ
สโมโห บุคคลมีโมหะ
สมาโน บุคคลมีมาน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลผู้กำหนัดเหล้าในอารมณ์ที่ชวน
กำหนัดทั้งหลาย เพลิดเพลินยินดีในปิยรูป
(สิ่งที่น่ารักใคร่) เป็นคนทราม ลูกโมหะ
ผูกไว้แล้ว ยิ่งเพิ่มเครื่องผูกพัน (อื่น ๆ)
ขึ้น.
คนเขลาทำอกุศลกรรมที่เกิดเพราะ
ราคะบ้าง เกิดเพราะโทสะบ้าง เกิดเพราะ
โมหะบ้าง อันเป็นกรรม มีความคับแค้น
มีผลเป็นทุกข์ คนเขลาเหล่านั้นเป็นคน
อันอวิชชาปิดบังแล้ว เป็นคนบอดมือ
ไม่มีจักษุ (คือปัญญา) ธรรม 3 มีอยู่
อย่างใด เขาก็เป็นอยู่เหมือนอย่างนั้น ไม่
รู้สึกตัวว่าเป็นอย่างนั้นเสียด้วย.

จบสราคสูตรที่ 6