เมนู

ดูก่อนคฤหบดี สุข 4 ประการนี้แล อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรจะ
ได้รับตามกาลตามสมัย
บุคคลผู้มีปัญญาดีรู้ว่าความไม่เป็น
หนี้เป็นสุข และระลึกรู้ว่าความมีทรัพย์ก็
เป็นสุข เมื่อได้จ่ายทรัพย์บริโภคก็รู้ว่าการ
จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นสุข อนึ่ง ย่อมพิ-
จารณาเห็น (สุขที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน) ด้วย
ปัญญา เมื่อพิจารณาดู ก็ทราบว่าสุข 4
นี้เป็น 2 ภาค สุขทั้ง 3 ประการข้างต้น
นั้นไม่ถึงส่วนที่ 16 แห่งสุขเกิดแต่
ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

จบอันนนาถสูตรที่ 2

อรรถกถาอันนนาถสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอันนนาถสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อธิคมนียานิ คือ พึงถึง. บทว่า กามโภคินา คือ
ผู้บริโภควัตถุกาม และกิเลสกาม. บรรดาสุขมีอัตถิสุขเป็นต้น สุขที่เกิดขึ้นว่า
โภคทรัพย์มีอยู่ ชื่อว่าอัตถิสุข สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์. สุขที่เกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ชื่อว่าโภคสุข สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค. สุขที่เกิดขึ้น
ว่าเราไม่เป็นหนี้ ชื่อว่าอันณสุข สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้. สุขที่เกิดขึ้น
ว่าเราปราศจากโทษ ไม่เป็นโทษ ชื่อว่าอนวัชชสุข สุขเกิดแต่การประกอบการ
งานที่ไม่มีโทษ.

บทว่า ภุญฺชํ แปลว่า เมื่อบริโภค. บทว่า ปญฺญา วิปสฺสติ
แปลว่า ย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. บทว่า อุโภ ภาเค แปลว่า สองส่วน
อธิบายว่า พิจารณาเห็นด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า ความสุขสามข้างต้น จัดเป็น
ส่วนหนึ่ง. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ จัดเป็นส่วนหนึ่ง ชื่อว่า
รู้สองส่วน. บทว่า อนวชฺชสุขสฺเสตํ ความว่า สุขแม้สามอย่างนั้น ย่อม
ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งสุขที่เกิดแต่ประกอบการงานไม่มีโทษ ดังนี้.
จบอรรถกถาอันนนาถสูตรที่ 2

3. สพรหมสูตร


ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร


[63] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูลทั้งหลาย
ใดบูชาอยู่ในเรือนของตน ตระกูลทั้งหลายนั้นชื่อว่ามีพรหม...มีบุรพาจารย์
... มีบุรพเทวดา...มีอาหุไนย ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นคำเรียก
มารดาบิดาทั้งหลาย คำว่า บุรพาจารย์...บุรพเทวดา...อาหุไนย นี้ก็เป็น
คำเรียกมารดาบิดาทั้งหลาย ที่เรียกเช่นนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ามารดาบิดา
ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร
ทั้งหลาย
มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้เอ็นดูประชา
ชื่อว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็น
อาหุไนยของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั่นแหละ บุตรผู้มีปัญญาพึงนอบน้อม